อชราภรณ์ เครือจันทร์ยุวนุช สัตยสมบูรณ์จุฑาธิป ศีลบุตรวิริณธิ์ กิตติพิชัยAcharaporn KruajanYouwanuch SattayasomboonJitatip SillabutraWirin Kittipichai2025-04-092025-04-092568-04-092567วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 10, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 533-5442697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109396การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความตั้งใจและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตรายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.จำนวน 212 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยแบบสอบถามมีความตรงเชิงเนื้อหาค่า(IOC) 0.67 - 1.00 มีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ส่วนที่ 2-4 มีค่ามากกว่า 0.80 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ Chi-square และ Multiple Logistic Regression ที่นัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า อสม. ร้อยละ 91.04 มีความตั้งใจเข้าร่วมในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตรายหากเกิดอุบัติการณ์แพร่ระบาดอีก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจของ อสม. ได้แก่ ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตราย แสดงให้เห็นว่า อสม.ผู้ที่มีปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานระดับสูงมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตราย 3.59 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานต่ำ (Adj OR=3.59, 95%CI of Adj OR = 1.16-11.13) ปัจจัยส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตรายของอสม. ผลการวิจัยนี้ผู้บริหารสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อวางมาตรการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อของ อสม. และช่วยให้ อสม.มีความสามารถเข้าร่วมในการปฏิบัติงานด้านนี้ในอนาคตThis research aimed to assess the rate of intention, and analyze influential factors of intention to practice prevention and control of dangerous communicable diseases among village health volunteers (VHV), in Samut Prakan Province. The 212 VHV were randomly selected. A self-administered questionnaire was used for data collection, with content validity of each item was (IOC)0.67-1.00 and the reliability, Cronbach’s alpha of the questionnaires from Part 2 to Part 4 were more than 0.80. Data were collected in December 2022. Descriptive statistics, chi-square test and multiple binary logistic regression were used to analyze the data, at a significant level < 0.05. The results found that 91.04 percent of VHV intended to perform prevention and control of dangerous infectious diseases If the outbreak occurs again. The factors affecting the VHVs’ intention was the motivation factors. It indicated that VHV with high motivating factors intended to participate in the disease control activities more than those with low motivating factors 3.59 times (Adj. OR=3.59, 95%CI of Adj. OR = 1.16 - 11.13). There personal factors were not related to the VHVs’ intention. The results from this study could be use by the public health administrators in the province to create interventions focusing on maintaining a good motivation toward the practices and encouraging VHV themselves to participate in the activities in the future.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรคติดต่ออันตรายการป้องกันควบคุมโรคvillage health volunteersdangerous communicable diseaseprevention and controlปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันตรายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดสมุทรปราการFactors that influence intention to participate in prevention and control of dangerous communicable disease among village health volunteers, Samut Prakan ProvinceOriginal Articleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล