Damras WongsawangSupachai TangwongsanJaruwan Romlamduan2024-01-182024-01-18199920241999Thesis (M.Sc. (Computer Science))--Mahidol University, 19999746625241https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93231Computer Science (Mahidol University 1999)Currently organizations recognize the importance of data. Thus, database systems have become increasingly used for data management. The relational database model is one database system, which is used widely but it has some limitations. Mainly, the slow speed of access time is not suitable to create interactive systems. Also the data has been developed in various formats e.g. pictures, voice and other multimedia, causes problems because it cannot be represented in a relational database model. Due to the problems mentioned above, programmers have tried to create various database systems to solve these problems. One of the database models is object-oriented database model (OODB) which addresses the disadvantages of the relational database model: the speed to retrieve the data, and representing the complex object data. Furthermore OODB can be made of overloading, encapsulation and inheritance attributes. These features of OODB are able to meet more users requirements. Lots of users would like to change these systems from relational database system to object-oriented database system. To redesign an entire system often requires a long time and costly labor. Sometimes it will not be able to relay all the attributes accumulated in the original relational database. Currently, there is no right method to convert the relational database model to an acceptable object-oriented database model. Therefore, this study will present the steps and methods in conversion of relational database model to object-oriented database model by choosing 1. model of OODB system for conversion (due to a lot of models of OODB) and will prove the reliability of database conversion as well.ในยุคปัจจุบันระบบฐานข้อมูลเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากในหน่วยงานต่างๆ ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นระบบฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมสูงในกลุ่มของผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลทั่วไป แต่ระบบฐานข้อมูล เชิงสัมพนธ์ยังมีปัญหาบางอย่างในการใช้งาน ที่เห็นเป็นปัญหาหลักๆ คือ ปัญหาในการ เรียกใช้งานข้อมูลค่อนข้างจะใช้เวลานาน ไม่เหมาะสมกับการนำมาทำระบบที่ต้องการ ข้อมูลแบบ Interactive จะทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการ พัฒนารูปแบบของข้อมูลไปในลักษณะต่างๆ กันออกไป เช่น ข้อมูลรูปภาพ, ข้อมูลเสียง, รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท Multimedia ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากมาย กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่ไม่สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลประเภทเหล่านี้ได้ จากปัญหาของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่กล่าวมาส่งผลให้มีผู้คิดค้นระบบฐานข้อมูล แบบใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งของระบบฐานข้อมูลที่ได้มีการ พัฒนาขึ้นมาคือ ระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถแก้ไขข้อเสีย ต่างๆ ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดีทั้งในเรื่องความเร็วในการเรียก ใช้ข้อมูลและความสามารถในการรองรับข้อมูลประเภทที่เป็น Complex Object ได้ อีกด้วย นอกจากนั้นระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุยังมีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Overloading, Encapsulation และ Inheritance ซึ่งจะเห็นได้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวของระบบ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุยังสามารถเข้ามารองรับความต้องการของผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูล ได้มากยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมาในข้างต้น ทำให้มีผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลบางแห่งอยากที่จะ เปลี่ยนระบบจากระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มาใช้งานระบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าจะเริ่มต้นจากการออกแบบระบบใหม่ทั้งหมดจะทำให้ต้องเสียเวลา, เสียค่าใช้จ่าย และแรงงานค่อนข้างสูง บางทีระบบที่ออกแบบออกมาอาจไม่สามารถถ่ายทอดคุณสมบัติต่างๆ ของระบบฐานข้อมูลเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกัน เนื่องจากระบบฐานข้อมูล ของเดิมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงมาเป็นเวลานานทำให้สามารถรองรับความต้องการ ของผู้ใช้ระบบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีขั้นตอนวิธีที่ถูกต้องใน การแปลงผันฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลเชิงวัตถุที่ได้รับการยอมรับ และรับรอง ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้ออกมาว่าสามารถทำงานได้จริง ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะเป็นการนำเสนอขั้นตอนวิธีในการแปลงผันฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลเชิง วัตถุ โดยจะเลือกฐานข้อมูลเชิงวัตถุเป็นต้นแบบเพื่อใช้ในการแปลงผัน พร้อมทั้งพิสูจน์ ผลลัพธ์ระบบของฐานข้อมูลที่ได้มาว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์xiii, 124 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าObject-oriented databasesRelational database to object-oriented database conversionการแปลงผันฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลเชิงวัตถุMaster ThesisMahidol University