สุนันทา สุทธิศักดิ์ภักดีวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชจงจิต เสน่หาสุชาย ศรีทิพยวรรณSunantha SuttisakphakdeeWimolrat PuwarawuttipanitChongjit SanehaSuchai Srithippayawanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาอายุรศาสตร์2019-03-192019-03-192019-03-182017วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2560), 36-45https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43642วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ อายุ โรคร่วม ระดับอัลบูมินในเลือด พฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต ในเลือด ต่อความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย จำนวน 120 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์อำนาจการทำนายด้วยสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย : พบว่าพฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟตเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความผิด ปกติของค่าผลคูณของ แคลเซียมและฟอสเฟต (odds ratio = .98, 95%CI = .95 - 1.01, p < .05) ระดับอัลบูมินในเลือดสามารถทำนายความ ผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (odds ratio = .42, 95%CI = .22 - .82, p < .05) และสามารถร่วมทำนายความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตได้ร้อยละ 14 (R² = .14, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟต และระดับอัลบูมินในเลือดสามารถทำนายความผิดปกติของ ผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตได้ ดังนั้น พยาบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยให้ปฏิบัติ ได้ถูกต้องเพื่อควบคุมผลคูณของแคลเซียมและฟอสเฟตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมPurpose: This study was a predictive research design aimed to study the predictive power of age, co-morbidities, albumin levels, and phosphate control behaviors of abnormal calcium-phosphate product in hemodialysis (HD) patients. Design: Correlation predictive design. Methods: The sample composed of 120 HD patients who met the inclusion criteria and received services at the Kidney Foundation of Thailand. Data were collected by using the Demographic Data Record Form, the Serum Phosphate Control Behavior Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression. Main finding: Phosphate control behavior could predict abnormal calcium phosphate product (odds ratio = .98, 95%CI = .95 - 1.01, p < .05). Serum albumin was a factor capable of predicting abnormal calcium phosphate product in hemodialysis patients (odds ratio = .42, 95%CI = .22 - .82, p < .05). All variables significantly predicted abnormalities in abnormal calcium and phosphate values at 14% (R² = .14, p < .05). Conclusion and recommendations: Phosphate control behavior and serum albumin are able to predict calcium and phosphate product in hemodialysis patients. So, nurses should encourage and support dietaries behaviors for correct practice of patients in order to control calcium and phosphate product in hemodialysis patients.thaมหาวิทยาลัยมหิดลhemodialysis patientsphosphate controlabnormal calcium and phosphate product,behavior, serum albumin levelOpen Access articleวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตพฤติกรรมการควบคุมฟอสเฟตระดับอัลบูมินในเลือดปัจจัยทำนายความผิดปกติของผลคูณแคลเซียมและฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมFactors Predicting Abnormal Calcium and PhosphateArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล