ชุติมา แสงเงินคนางค์ คันธมธุรพจน์วนิพพล มหาอาชาปพิชญา อังคภาณุกุล2024-01-052024-01-05256125612567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91870สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และระดับความตระหนัก รวมทั้งศึกษาความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้และความตระหนัก ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำใน ลักษณะแก้มลิง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีบ้านพักอาศัยบริเวณพื้นที่ตั้งโครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและเขตเทศบาล ตำบลปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 339 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้การอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรู้การอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ระยะทางจากที่พักถึงโครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง และปัจจัยที่มีผลต่อความรู้การอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง นอกจากนั้นจากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ ระยะทางจากที่พักถึงโครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง ทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง และการให้คุณค่าต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงที่สำคัญ คือ ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงจากหน่วยงานภาครัฐเท่าที่ควร การขาดผู้นำหรือหน่วยงานภาครัฐเข้ามาจัดการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน และการขาดการดำเนินกิจกรรมหรือการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำของโครงการแหล่งกักเก็บน้ำฯ และการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงให้เหมาะสมกับพื้นที่อย่างถูกวิธี สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงมีดังนี้ คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงให้กับประชาชนได้ทราบในรูปแบบที่เข้าใจง่าย คือ เสียงตามสาย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และการสร้างเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และให้คุณค่าต่อแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิงThis quantitative research aimed to study people's knowledge and awareness on conservation of the Monkey Cheek Project Pattanakarn Road, Mueang District, Kanchanaburi Province as well as observe differences between influential factors, including exploring problems and obstacles, and making recommendations on conservation of such project. Data were gathered from 339 households in the conservation of the Monkey Cheek Project through distributed questionnaires among selected samples. Data were analyzed with Descriptive Statistics, Mean, Standard Deviation and One-way Analysis of Variance. The findings suggested that samples had a high-level of knowledge on conservation of the Monkey Cheek Project, at the statistical significance level of 0.01, focusing on the distance from lodging to the conservation of the Monkey Cheek Project, and influential factors regarding receiving news on conservation of the Monkey Cheek Project, and participation on conservation of the Monkey Cheek Project had the statistical significance level of 0.05. The findings suggested that samples were highly aware of conservation of the Monkey Cheek Project, with influential factors on awareness displaying statistical significant level of 0.001 on distance from lodging to the conservation of the Monkey Cheek Project, positive attitude toward such project and seeing its value. The influential factors on conservation project awareness were occupation and average monthly incomes, at a statistical significant level of 0.01. The major obstacles affecting Monkey Cheek Conservation Project were people not receiving adequate information on conservation, lacking appropriate leader or state agencies responsible for seeking solution and no activities or campaign to promote problem-solving on water quality in the Money Check Conservation Project, as well as no appropriate conservation method. This research recommends the state officers to disseminate news on Monkey Cheek Conservation Project through the broadcast tower, thus ensuring the public easy understanding as well as encouraging the public participation in conservation of the Money Cheek Project together with the concerned agencies, seeing the value of conserved Monkey Cheek Projectก-ฐ, 247 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการอนุรักษ์ธรรมชาติ -- ไทย -- กาญจนบุรีแหล่งน้ำ -- การอนุรักษ์ความรู้และความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์โครงการแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะแก้มลิง ริมถนนพัฒนากาญจน์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีPeople's knowledge and awareness on conservation of the Monkey Cheek Project, Pattanakarn road, Mueang district, Kanchanaburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล