วิริณธิ์ กิตติพิชัยอาภาพร เผ่าวัฒนาภริตพร ยังสวัสดิ์2024-07-092024-07-09256325632567สารนิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99554สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)รัฐบาลได้มีนโยบายการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยในแต่ละพื้นที่ได้มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานขึ้น แต่ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 45 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดที่ตอบด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ และสถิติที กำหนดระดับนัยำทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า ผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวฯ มีคะแนนร้อยละเฉลี่ย 58.6 มี อปท. ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 16 แห่ง (ร้อยละ 36) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวฯ (p-value < 0.05) มีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การเข้าร่วมกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ (อุปกรณ์ทำแผล วอร์คเกอร์ รถเข็น เตียงนอนปรับระดับ ที่นอนลม ชุดออกซิเจน ชุดดูดเสมหะ) และ 2) ปัจจัยกระบวนการ ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงาน การจัดการการดำเนินงาน และการกำกับติดตามการดำเนินงาน โดย อปท. ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีคะแนนทั้ง 3 ด้านสูงกว่า อปท. ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จึงมีข้อเสนอแนะ ให้ อปท. ในจังหวัดนนทบุรีทุกแห่งเข้าร่วมกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการกดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวฯ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับบริการทางสังคมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนThe government has set a policy for the implementation of the long-term care for the dependency elderly (LTC) that has developed the operating model in each area. However, it still lacks a systematic implementation evaluation. This cross-sectional survey study aimed to explore the implementation of LTC of 45 local government organizations in Nonthaburi Province. Data collection was performed by using a self-administered questionnaire. The data were analyzed using the descriptive statistics, chi-square test, and independent samples t-test with statistical significant level of less than 0.05. The crucial findings of the study revealed that the output of LTC implementation had the percentage mean score of 58.6. There were 16 local government organizations that passed the evaluation criteria (36%). The factors that were associated with the output of LTC implementation (p-value <0.05) consisted of 1) input factors such as participation in the Elderly Dependent Fund, and the adequacy of materials, devices, and supplies (wound dressing devices, walker, wheelchair, adjustable bed, air mattress, oxygen set, and suction unit), and 2) Process factors such as planning, managing, and monitoring the LTC implementation by the local government organizations that passed the evaluation criteria and had higher scores in all 3 aspects than the local government organizations that failed the criteria. Therefore, this study recommended that all local government organizations in Nonthaburi Province participate in the dependency elderly fund; this would help to support the implementation of the long-term care for the dependency elderly in order to provide the elderly with public health services according to a set of benefits linked to social services with the participation of all sectors.ก-ญ, 133 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าผู้สูงอายุ -- การดูแลทฤษฎีระบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- นนทบุรีการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีThe long-term care for the dependency elderly of the local government organization in Nonthaburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล