สุคนธา คงศีลสุขุม เจียมตนยศพล เหลืองโสมนภาเสาวภา ชาวนา2024-01-122024-01-12256025672560วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92537สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการคลอดปกติของหญิงแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนของโรงพยาบาลเกาะช้าง จังหวัดตราด ปีงบประมาณ 2558 ในมุมมองผู้ให้บริการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแบบย้อนหลัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการ คือ ผู้ที่มารับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นการคลอดปกติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 กลุ่มตัวอย่างเฉพาะหญิงแรงงานต่างด้าวที่ใช้สิทธิกองทุนผู้ประกันตนคนต่างด้าว ซึ่งมีทั้งหมด 84 คน และ กลุ่มผู้ให้บริการ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 29 คน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมการดูแลการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตน จำนวน 84 ราย มีต้นทุนรวม 887,372.92 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าดำเนินการ 829,543.11 บาท คิดเป็นร้อยละ 93.49 ต้นทุนค่าวัสดุ 23,622.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.66 ต้นทุนค่าลงทุน 34,207.04 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.85 อัตราส่วนของต้นทุนพบว่า ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน คือ 35.12 : 1 : 1.45 ต้นทุนต่อหน่วยการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนเท่ากับ 10,563.96 บาท/ราย ต้นทุนรายโรคต่อวันนอนเท่ากับ 3,841.44 บาท/ราย/วันนอน เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของต้นทุนการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตน ต่อค่าใช้จ่ายที่ได้รับการจัดสรรในการให้บริการผู้ป่วย (Cost charge ratio) พบว่า อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับหรือการได้รับจัดสรรค่าบริการน้อยกว่า 1 แสดงว่าโรงพยาบาลได้รับเงินจากการจัดสรรค่าบัตรประกันสุขภาพ รายหัวที่ได้ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปนำเสนอต่อกลุ่มงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาระค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลต้องแบกรับ และเสนอให้มีการปรับการจ่ายเงินค่าบริการคลอดของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนให้หน่วยบริการ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดราคาบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวThe objective of this study descriptive cross-sectional and retrospective study was to analyze hospital care cost of normal delivery of migrant workers in fiscal year 2015 under provider perspective. The population was migrant women who were under migrant insurance fund. The participants were 84 migrants who visited the hospital and had normal delivery from October 1, 2014 to September 30, 2015. The providers were 29 hospital personnel including doctors, nurses, and nurse-aids. Overall hospital care cost of normal delivery among 86 migrant workers in fiscal year 2015 was 887,372.92 baht comprise of operating cost of 829,543.11 baht (93.4 %), material cost of 23,622.77 baht (2.6%), and capital cost of 34,207.04 baht (3.8 %). The ratio of labor cost: material cost: capital cost was 35.12 : 1 : 1.45. Unit cost of normal labor was 10,563.96 per case or 3,841.44 baht per admission day. The study revealed that the budget the hospital received from migrant insurance fund was lower than the over all hospital care cost of normal delivery among migrant workers. The cost charge ratio was less than 1, thus the capitation allocated to the hospital from migrant insurance was less than the unit cost of normal delivery of migrant workers. The hospital administrators should convey the results from this study to the health insurance office of the Ministry of Public Health to consider the burden the hospital experienced when providing care for normal delivery among migrant workers and to request for adjustment in the reimbursement of the hospital costก-ฌ, 100 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการดูแลรักษาในโรงพยาบาล -- การควบคุมต้นทุนการผลิตแรงงานต่างด้าว -- ไทย -- ตราดการวิเคราะห์ต้นทุนการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนปีงบประมาณ 2558 : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเกาะช้าง จังหวัดตราดHospital care cost analysis of normal delivery of migrant workers, fiscal year 2015 : case study of Ko Chang Hospital, Trat ProvinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล