Wichai AekplakornSirinapha JittimaneeSasiwan Homkaew2024-02-072024-02-07201220122012Thesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2012https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95207Epidemiology (Mahidol University 2012)This retrospective cohort study aimed to determine prevalence of drugresistant tuberculosis in prisons and to examine risk factors associated with drugresistant tuberculosis in prisoners. The subjects were pulmonary tuberculosis (TB) patients who were registered from 1 Jan 2008 to 31 Dec 2010 in 10 prisons of Thailand. A total of 1332 TB patients were registered, of which 493(37%) had sputum culture testing. Of 347 new TB cases, 461(93.5%) had culture and DST performed. Prevalence of resistance to one or more drugs among new and previously treated was 21.6% (75/347) and 33.3% (38/114), respectively. It was found that prevalence of MDR-TB among new and previously treated were 4.32% (15/347) and 24.56% (28/114), respectively. The history of previous treatment was the only factor that was associated with drug resistant tuberculosis and MDR-TB. The researcher recommended that the National Health Security Office Thailand (NHSO) should support the program of culture and DST for all TB patients in prison. Early detection and management of MDR-TB can prevent the transmission in prisons. The National Tuberculosis Program Thailand (NTP) and Department of Correction must seriously implement interventions to prevent MDR-TB outbreak. The interventions include capacity building of prison nurses to handle any MDR-TB cases, and provide effective care, as well as provision of access to culture & DST for all prisoners with TB.การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของ วัณโรคดื้อยาและปัจจัยเสี่ยงต่อการดื้อยาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำ 10 แห่งใน 4 ภาคของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคที่ขี้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีทั้งหมด 1332คน ผู้ป่วยที่ได้รับการทดสอบเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรคจำนวน 493 คน ผู้ป่วยที่มี ผลการทดสอบติดเชื้อวัณโรคและได้รับการทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรคจำนวน 461 คน โดยเป็น ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จำนวน 347 คน ผู้ป่วยที่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนจำนวน 114 คน ความชุกของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคที่ดื้อต่อยาอย่างน้อย 1 ขนานในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่คิดเป็นร้อยละ 21.6 (75/347) ของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั้งหมด และ ร้อยละ 33.3 (38/114) ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เคยรักษาวัณโรคมาก่อน สำหรับความชุกของวัณโรคดื้อยาหลายขนานในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่คิดเป็นร้อยละ 4.32 (15/347) ของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั้งหมด และร้อยละ 24.56 (28/114) ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เคยรักษาวัณโรคมาก่อน ปัจจัยเสี่ยงต่อการดื้อต่อยารักษาวัณโรคอย่างน้อย 1 ขนาน และ วัณโรคดื้อยามีเพียงปัจจัยเดียวคือ ประวัติเคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน ผลการศึกษานี้พบอัตราการตรวจเพาะเชื้อและการทดสอบความไวต่อยาต่ำ ส่วนความชุก ของวัณโรคดื้อยาหลายขนานมีอัตราสูง ดังนั้นจึงแนวทางนโยบายและการปฏิบัติงานดังนี้ 1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรให้ผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำทุกคนได้รับสิทธิการตรวจเพาะเลี้ยงเชื้อและทดสอบความไวต่อยา เพราะอาจจะมีผู้ต้องขังที่แพร่กระจายเชื้อวัณโรคดื้อยา หลายขนานในเรือนจำ 2. สภาพความเป็นอยู่ที่แออัดของผู้ต้องอาจจะทำให้มีการระบาดของเชื้อวัณโรคดื้อยาหลาย ขนานได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ผู้ต้องขังวัณโรคดื้อยาหลายขนานอยู่รวมกับผู้ต้องอื่นจะสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ สำนักวัณโรคและกรมราชทัณฑ์ควรดำเนินงานอย่างจริงจังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยาหลายขนานโดย การเสริมสร้างศักยภาพของพยาบาลเรือนจำในการจัดการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา และการสนับสนุนให้ผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำทุกคนให้เข้าถึงการวินิจฉัยวัณโรคโดยการเพาะเลี้ยงเชื้อและทดสอบความไวต่อยาix, 54 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าMycobacterium Tuberculosis -- drug effectsMultidrug-resistant tuberculosis -- TreatmentTuberculosisFactors associated with drug-resistant tuberculosis of tuberculosis patients in prisons in Thailandปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อต่อยารักษาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำในประเทศไทยMaster ThesisMahidol University