แพรศิริ อยู่สุขชลธิรศน์ คูหาศิริจรรยา ตู้พิมายมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก2022-09-142022-09-142565-09-142564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79525ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 105-106การดำเนินงานการสร้างแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและเกณฑ์การ ส่งพบทีมสหวิชาชีพในคลินิกผู้สูงอายุ และศึกษาผลของแนวปฏิบัติการ ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและเกณฑ์การส่งพบทีมสหวิชาชีพในคลินิกผู้สูงอายุ โดยมีการดาเนินงานดังนี้ 1) ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวกับการประเมินสุขภาพ ผู้สูงอายุ 2) ประชุมทีมสหวิชาชีพ 3) การสร้างแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพ ผู้สูงอายุและเกณฑ์การส่งพบทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย (1) การประเมิน สุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ด้านกลุ่มอาการสูงอายุ ด้านปัญหาสำคัญที่พบบ่อย ด้านสมรรถนะผู้สูงอายุ และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (2) เกณฑ์การส่งพบ ทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ ภาวะการรู้คิดบกพร่อง ภาวะเสี่ยงขาดโภชนาการ ภาวะ ซึมเศร้า ภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ปัญหาสุขภาพช่อง ปาก ปัญหาการได้ยิน และปัญหาการมองเห็น 4) การนาแนวปฏิบัติการ ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและเกณฑ์การส่งพบทีมสหวิชาชีพไปปฏิบัติจริง ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2563 – 30 มิถุนายน 2564 5) ประเมินผลแนวปฏิบัติ พบว่า ผู้สูงอายุรายใหม่ที่ได้รับการประเมินสุขภาพ จำนวน 181 คน ร้อยละ 100 และผลการประเมินสุขภาพพบว่า ผู้สูงอายุไม่มี ปัญหาสุขภาพ 11 ราย ร้อยละ 6.08 ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพ 170 ราย ร้อย ละ 93.92 ในจำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ 170 ราย ด้านกลุ่มอาการ สูงอายุ พบภาวะการรู้คิดบกพร่อง ร้อยละ 40.37 ภาวะเสี่ยงขาดโภชนาการ ร้อยละ 16.04 ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 3.48 ภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 16.04 ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ร้อยละ 6.42 ด้านปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อย พบปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 3.74 ปัญหาการได้ยิน ร้อยละ 4.81 ปัญหา การมองเห็น ร้อยละ 9.09 ด้านสมรรถนะผู้สูงอายุ พบผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติ กิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ร้อยละ 56.35 สามารถปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันได้มาก ร้อยละ 29.83 สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ปานกลาง ร้อยละ 7.73 สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เล็กน้อย ร้อยละ 2.21 ไม่ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย ร้อยละ 3.87 ด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม สิทธิ์การรักษา กรมบัญชีกลาง/ต้นสังกัด ร้อยละ 71.27 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร้อยละ 9.39 ผู้พิการ ร้อยละ 5.53 จ่ายเงินเอง ร้อยละ 13.81 ที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยส่วนตัว ร้อยละ 96.13 ศูนย์ดูแล ร้อยละ 3.87 ประเภทผู้ดูแล คู่สมรส ร้อยละ 28.18 บุตร ร้อยละ 52.49 เขย/สะใภ้ ร้อยละ 0.55 หลาน ร้อยละ 4.97 พี่/น้อง ร้อยละ 7.18 ญาติ ร้อยละ 1.10 ผู้ดูแลว่าจ้าง ร้อยละ 5.53 ผู้สูงอายุรายใหม่ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งพบ ทีมสหวิชาชีพโดยการทานัดหมาย จำนวน 170 ราย ร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานมีข้อเสนอแนะว่า แนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพ ผู้สูงอายุและเกณฑ์การส่งพบทีมสหวิชาชีพสามารถนำไปใช้กับผู้สูงอายุเพื่อให้ ได้รับการประเมินสุขภาพ ที่ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถวาง แผนการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแลรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพ ได้เหมาะสมกับปัญหาของผู้สูงอายุthaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้สูงอายุสุขภาพแนวปฏิบัติMahidol Quality Fairการสร้างแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพผสูู้งอายุProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล