อนงค์ ภูมิชาติอุไรวรรณ โฆสิตานนท์อรษา สุตเธียรกุลวันเพ็ญ ชัยคำภากานดา วัฒโนภาสมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.2016-02-242021-09-202016-02-242021-09-202559-02-122534https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63620เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 258-9.การศึกษาระบาดวิทยาทางน้ำเหลืองของการติดเชื้ออหิวาต์ และเชื้อบิดชนิดไม่มีตัว โดยการตรวจหาระดับแอนติบอดี ต่อ Lipopolysaccharides ของ Vibrio cholera ด้วยวิธี Inidrect ELISA เพื่อประเมินความชุกของการติดเชื้อทั้งสองของประชากรในจังหวัดกระบี่ และทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นทางวิทยาการระบาด วิธีการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างเลือดจากสายสะดือของทารกที่คลอดในโรงพยาบาลกระบี่ และประชากรที่อยู่ในจังหวัดกระบี่ ซึ่งไม่มีประวัติการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง อหิวาต์ หรือ บิด ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา อายุตั้งแต่ 6 เดือนถึงมากกว่า 50 ปี ระหว่างเดือน มกราคม 2532 ถึง ถึงธันวาคม 2533 รวมทั้งสิ้น 363 ราย โดยมีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1:1 ความชุกของแอนติบอดีIgG และ IgM ต่อ V.cholerae พบร้อยละ 65 และ64 ตามลำดับ แอนติบอดีทั้งสองชนิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่อายุ6 เดือน กล่มอายุที่มีความชุกของแอนติบอดี IgG และ IgM มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 30-49 ปี (ร้อยละ 98) และ 15-29 ปี (ร้อยละ 90) ตามลำดับ และเป็นกลุ่มอายุที่มีค่าเฉลี่ยของแอนติบอดี IgG และ IgM สูงสุด ความชุกของแอนติบอดี IgG และ IgM ต่อ S.flexneri พบร้อยละ 60 และ22 ตามลำดับความชุกของแอนติบอดี IgG เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 3-4 ปี และเพิ่มมากขึ้นตามอายุ แต่ความชุกของแอนติบอดี IgM เริ่มขึ้นก่อนแอนติบอดี IgG คือ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างช้าๆ ทำให้ความชุกของการติดเชื้อในแต่ละกล่มอายุน้อยกว่า IgG มาก กลุ่มอายุที่มีความชุกของแอนติบอดี IgG และ IgM มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 30-49 ปี (ร้อยละ 90) และ 15-29 ปี (ร้อยละ 45) ซึ่งเหมือนกับ V.cholerae แต่กลุ่มอายุที่มีค่าเฉลี่ยของแอนติบอดี IgG และ IgM สูงที่สุดคือ กลุ่มอายุ 30-49และ 10-14 ปีตามลำดับ ความชุกของการติดเชื้อ V.cholerae ในกลุ่มอาชีพแม่บ้านสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ ความชุกของแอนติบอดี IgG ในกลุ่มผู้หญิงมุสลิมสูงกว่าในกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ ตรงข้ามกับความชุกของแอนติบอดี IgG ในกลุ่มชาวพุทธสูงกว่ากลุ่มมิสสลิม นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนียสำคัญทางสถิติกับรายไก้ของครอบครัว ลักษณะที่ตั้งของบ้านเรือน (ที่อาศัยบนพื้นดินที่ไม่ติดต่อกับทะเลและบนเกาะหรือใกล้ชายฝั่งทะเล) การปกปิดอาหาร และการใช้น้ำ (p <0.05) ส่วนความชุกของการติดเชื้อ S.flexneri พบว่าสูงในกลุ่มผู้ชายชาวพุทธ อาชีพค้าขาย และผู้หญิงที่มีการศึกษาน้อยแต่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับรายได้ของครอบครัวลักษณะที่ตั้งบ้านเรือน พฤติกรรมการกินอาหาร และการใช้น้ำ (p > 0.05)thaมหาวิทยาลัยมหิดลการติดเชื้อระบาดวิทยาการศึกษาระบาดวิทยาทางน้ำเหลือง ของการติดเชื้อ Vibrio cholera และ Shigella flexneri โดยวิธี ELISA ในประชากรของจังหวัดกะบี่Proceeding Abstract