Wimontip MusikaphanSuriyadeo TripathiKaewta NopmaneejumruslersKanya Panurak2024-02-072024-02-07201420142014Thesis (M.Sc. (Human Development))--Mahidol University, 2014https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95173Human Development (Mahidol University 2014)This study research aims to investigate: 1) the relationship between life assets, development and emotional quotient of preschool children; 2) the relationship between development and the emotional quotient of preschool children; and 3) the correlation between each area of development of preschool children. The sample group included 378 children, ages 3-5 years studying at 5 Bangkok preschool children centers in the Lad Krabang District. The sample group was selected by the Multi-stage Sampling. The research instruments involved the Life Assets Survey Tool for Preschool Children, ages of 3-6 years, and Emotional Quotient Assessment Form for Preschool Children, ages of 3-5 years as reported by teachers/caregivers, and Preschool Children Development Inventory or Denver II. Descriptive statistics were used for data analysis to determine the relationship of data. In addition, a correlation analysis was also performed. The data results showed that the preschool children were mostly delayed in the development of language, fine motor, and adaptability. The emotional quotient of most preschool children must be reinforced. Life assets, in terms of power of self and power of community, were positively correlated with the general development of preschool children at a statistically significance of 0.05. Interestingly, three types of empowerments of life assets were correlated with the emotional quotient in each area of development of preschool children. The preschool children's general development was positively correlated with their emotional quotient at a statistically significance of 0.01. Language development was positively correlated with the gross motor development, fine motor development, and adaptability at a statistically significance of 0.01. In addition, the language development was positively correlated with the social development and self-care at a statistically significance of 0.05. The above results indicate that the main persons responsible for rearing preschool children assisting that should be engaged in knowledge and skill development, along with fostering and possessing good attitude in an afford to create constructive activities to reinforce those 3 empowerment factors involved in preschool children's life assets, so that children an able to achieve the appropriate physical, mental, emotional, social and cognitive development based on their specific age.การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ต้นทุนชีวิตกับพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย 2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการกับความ ฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย และ3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการแต่ละด้านของเด็กปฐมวัย ทำการศึกษา ในเด็กอายุ 3 - 5 ปี จำนวน 378 คน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง ทั้ง 5 แห่ง กลุ่ม ตัวอย่างได้จากการคัดเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจต้นทุนชีวิตเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปีสำหรับครู/ผู้ดูแลเด็ก และแบบทดสอบ พัฒนาการเด็กปฐมวัย Denver II วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย แสดงข้อมูลพื้นฐานและความสัมพันธ์ อย่างง่ายของข้อมูลพื้นฐานบางตัว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Correlation Analysis ผลสำรวจพบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้ามากที่สุด รองลงมาคือด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก และการปรับตัว เด็กส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับจำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนา ผลการศึกษาพบ ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิตด้านพลังตัวตนและพลังชุมชนมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการโดยรวมของเด็ก ปฐมวัยในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิตทั้ง 3 พลังกับ ความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการรายด้านของเด็กปฐมวัยในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ส่วนความสัมพันธ์ ระหว่างพัฒนาการโดยรวมกับความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01 พัฒนาการด้านภาษากับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กและการปรับตัว มีความสัมพันธ์ กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพัฒนาการด้านภาษากับพัฒนาการด้านสังคมและการช่วย ตนเอง มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้ผู้ทำหน้าที่หลักในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และชุมชนมี ความรู้ มีทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการสร้างกิจกรรมพลังเชิงบวกให้ต้นทุนชีวิตทั้ง 3 พลังเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อช่วย ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัยxi, 177 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าAttachment behavior in childrenEmotional intelligencePreschool childrenRelationship between life assets and emotional quotient and development among preschool children : a case study in preschool children center Ladkrabang district, Bangkokความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิตกับพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพฯมหานคร เขตลาดกระบังMaster ThesisMahidol University