น้ำผึ้ง อินทโพธิ์ศิริพร สมจิตณัฐวดี เมืองงิ้วรายธัญญา นารายณ์ธนัชชา ยินสูตร์Numpueng InthaphoeSiriporn SomjitNattawadee MuangngewratThanutcha Yinsootมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2022-10-262022-10-262565-10-262564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79965ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 163-164หน่วยผ่าตัดนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราชให้บริการผู้ป่วยที่เข้ารับ การผ่าตัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของสตรี ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้า ท้อง (Open surgery) การผ่าตัดทางช่องคลอด (Vagina surgery) และการ ผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) การผ่าตัดผ่านกล้องทางช่อง คลอด (Hysteroscopy) จากสถิติปี 2563 มีจำนวนผู้รับการผ่าตัดในหน่วย ผ่าตัดนรีเวชวิทยาจำนวน 2,756 คน มีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ ที่มีความหลากหลาย การเพิ่มขึ้นของจำนวนนรีแพทย์ผู้ทำผ่าตัดมี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนนรีแพทย์ทั้งหมด 45 คน ทำให้ การจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และลำดับขั้นตอนการผ่าตัดของ นรีแพทย์มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้พยาบาล ประจำห้องผ่าตัดหมุนเวียนปฏิบัติงาน ระหว่างหน่วยผ่าตัดนรีเวชวิทยาและ หน่วยผ่าตัดสูติศาสตร์ อีกทั้งมีพยาบาลประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯ อายุงาน น้อยกว่า 5 ปี ประมาณ 1/3 ของพยาบาลประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชทั้งหมด ซึ่งพยาบาลกลุ่มนี้ยังมีประสบการณ์น้อยในการช่วยและส่งผ่าตัดของแพทย์แต่ ละท่าน ฉะนั้นทำให้เกิดความล่าช้าและคลาดเคลื่อนในการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การเตรียมเครื่องมือไม่พร้อมใช้ภายหลังผู้ป่วยได้รับยาระงับ ความรู้สึก และความคลาดเคลื่อนในการส่งผ่าตัดตามลำดับขั้นตอนนรีแพทย์ ผู้ทำผ่าตัดแต่ละท่าน ดังนั้นจึงจัดทำคู่มือนี้ที่รวบรวมการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ภัณฑ์ตามขั้นตอนการผ่าตัดของนรีแพทย์แต่ละท่านไว้ โดยรวบรวมข้อมูล นามาเก็บในระบบอิเล็คทรอนิค สามารถเข้าถึงได้จากการสแกน QR code วิธีนี้สามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อนได้ สะดวกในการค้นหารายชื่อนรีแพทย์ และสะดวกในการแก้ไขข้อมูล โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเตรียม เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และขั้นตอนการผ่าตัดของ นรีแพทย์แต่ละ ท่านที่แตกต่างกัน เพื่อให้พยาบาลห้องผ่าตัดในหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯและ หน่วยงานอื่นที่หมุนเวียนปฏิบัติงานและสนใจได้เรียนรู้ และทบทวนการ จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุภัณฑ์ และทบทวนขั้นตอนการผ่าตัดของนรี แพทย์ได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการจัดเตรียมเครื่องมือ และลดค่าใช้จ่าย ในการเปิดเวชภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นในการทำผ่าตัดนั้นๆของผู้ป่วย ทำให้พยาบาล ประจำหน่วยผ่าตัดนรีเวชฯและผู้สนใจสามารถส่งผ่าตัดได้ถูกต้องมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยthaมหาวิทยาลัยมหิดลElectronicbig dataSurgeryการผ่าตัดเวชภัณฑ์Mahidol Quality FairElectronic Kardex for nurseProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล