อาภาวรรณ หนูคงสุดาภรณ์ พยัคฆเรืองมณีรัตน์ หม้ายพิมาย2024-01-222024-01-22255925672559วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93357การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคมกับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต โดยใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล (1988) กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต ในระยะ 3 วันแรก จำนวน 118 ราย เครื่องมือในการวิจัย มี 5 ชุด ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบสอบถามความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ทดสอบอิทธิพลส่งผ่านตามแนวทางของ Baron และ Kenny (1986) ผลการศึกษาพบว่า ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคม กับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต แต่พบว่าการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตรมีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลของบิดามารดา (β = .32, p = .000) ในการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ทีมสุขภาพควรให้ข้อมูลตามสภาพความเจ็บป่วยของบุตร เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลของบิดามารดา และควรประเมินคัดกรองความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลของบิดามารดาทุกราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ ให้การพยาบาลที่เหมาะสมต่อไปThis study aimed at examining the mediating effect of uncertainty in illness between the perception of the child' illness severity, education, social support and parental anxiety of children admitted to the pediatric intensive care unit. The conceptual model for this study is based on a portion of Mishel (1988) uncertainty in illness theory. The samples were 118 parents who had children admitted to the pediatric intensive care unit within 3 days. The five parts questionnaire were used including the demographic data form, the state anxiety scale, perception of uncertainty in illness scale, perception of the child's illness severity scale, and social support questionnaire. Data were analyzed for the mediating effect using Baron & Kenny's method (1986). The results showed that uncertainty in illness did not have the mediating effect between the perception of the child's illness severity, education and social support and parental anxiety of children admitted to the pediatric intensive care unit. However, it was found that a significant relationship between the perception of the child's illness severity and parental anxiety (β = .32, p =. 000). The findings suggested that healthcare team should provide information about their child's illness for reducing the parental anxiety. Additionally, nurses should assess anxiety and information needs of parents, which are used as basic information for the appropriate nursing careก-ญ, 109 แผ่น : ภาพประกอบ,ตารางapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการดูแลขั้นวิกฤตทางกุมารเวชศาสตร์ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)ความวิตกกังวลบิดามารดาผู้ป่วยเด็กอิทธิพลส่งผ่านของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระหว่างการรับรู้ความรุนแรงในความเจ็บป่วยของบุตร ระดับการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคมกับความวิตกกังวลของบิดามารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตThe mediating effect of uncertainty in illness between perception of the child's illness severity, education and social support with parental anxiety of children admitted to pediatric intensive care unitMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล