ภูเบศร์ แสงสว่างจุฑาธิป ศีลบุตรเกษสุดา ศรีจักร์2024-01-052024-01-05256225622567สารนิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91961สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)โรคมือ เท้า ปากในโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาสำคัญ และมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย และการเจริญเติบโตทางพัฒนาที่สมวัยของเด็กในระยะยาว การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 150 โรงเรียน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2562 โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มอายุส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 32.7 เพศหญิง ร้อยละ 82.0 และเพศชาย ร้อยละ 18.0 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีตำแหน่งครู มากที่สุดร้อยละ 54.0 โรงเรียนอนุบาลเอกชนมีคะแนนการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคมือ เท้า ปากอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 72.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปากของโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ระดับการศึกษา (p=0.038) การได้รับโอกาสให้เพิ่มพูนความรู้ (p<0.001) ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก (p<0.001) การรับรู้ความเสี่ยง (p<0.001) การรับรู้อันตรายหรือความรุนแรง (p=0.002) การรับรู้ประโยชน์ (p=0.002) การกำหนดผผู้รับผิดชอบหลักไว้ในโครงสร้างขององค์กร (p<0.001) การได้รับการสนับสนุนความรู้และ วัสดุอุปกรณ์จากบุคลากรทางด้านสาธารณสุข (p<0.001, p<0.001) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (p<0.001, p<0.001) และการณรงค์หรือประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน (p<0.001) ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าว การดำเนินการงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ให้โรงเรียนเอกชนได้ ดำเนินงานได้ตามมาตรฐานนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก การรับรู้ความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก การรับรู้อันตรายหรือความรุนแรงและการรับรู้ ประโยชน์ของการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ให้กับผ๔รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปากของโรงเรียนต่อไปHand-Foot-and-Mouth disease in private kindergarten, Bangkok is a major problem and has affected the well-being of children. This cross-sectional research investigated the factors influencing the prevention and control of hand-foot-and-mouth disease in Bangkok. One hundred fifty private kindergartens in Bangkok area under the Office of the Private Education Commission, were collected from February to March 2019. The respondents (teacher, administrators, nurses, etc.) answered self-administered questionnaires and the data were analyzed by descriptive statistics, Pearson's Correlation Coefficient and Chi-square test. The results revealed that the highest range of age of participants was 30-39 years old (32.7%), majority female (82.0%) and male (18.0%). Almost of the respondents were teachers (52.4%), Private kindergartens had a very good score (72.0%) in the prevention and control of hand-foot-and mouth disease. The factors related to the prevention and control of hand-foot-and-mouth disease were educational background (p=0.038), opportunity to increase knowledge (p<0.001), knowledge of hand-foot-and-mouth disease (p<0.001), risk perception (p<0.001), perception of danger or violence (p=0.002), perception of benefits (p=0.002), determination of the primary responsible person in the organizational structure (p<0.001), obtaining knowledge support materials and equipment from public health staff (p<0.001, p<0.001), participation of parents and communities, (p<0.001, p<0.001) and campaign or public relations via mass media (p<0.001) It is recommended that prevention and control of hand-foot-and-mouth disease in private kindergartens must be the primary concern of the public health officials or related agencies, and awareness and risk of hand-foot-and-mouth disease should be promoted. Also, school leaders must administer prevention and control of hand-foot-and-mouth disease, and must approach the proper authority responsible for prevention and control of hand-foot-and-mouth disease.ก-ณ, 146 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเท้า -- โรค -- ไทย -- กรุงเทพฯปาก -- โรค -- ไทย -- กรุงเทพฯมือ -- โรค -- ไทย -- กรุงเทพฯโรงเรียนอนุบาล -- ไทย -- กรุงเทพฯโรงเรียนเอกชน -- ไทย -- กรุงเทพฯปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานครFactors related to prevention and control of hand-foot-and-mouth disease in private kindergartens, BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล