ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริไชยพร พลมณีจตุพร โยธานำพล สิงห์ทองChaiwat WashirasaksiriChaiyaporn PolmaneeJatuporn YothaNumpone singthongมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2022-09-162022-09-162565-09-162564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79556ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 120ด้วยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกันจัดทำโครงการให้ ความรู้แก่ผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในรูปแบบการทำกิจกรรมกลุ่ม อย่างบูรณาการวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้าง ทักษะและการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง การ พัฒนาเริ่มต้นจากการรวมรวมข้อมูลที่มีการระดมสมองของผู้เชี่ยวชาญภายใน และความร่วมมือกับองค์กรภายนอก จนเกิดเป็น “โปรแกรมการป้องกันโรค เรื้อรังศิริราช” ซึ่งมีการพัฒนาสร้างนวตกรรม และปรับตามสถานการณ์ ตลอดระยะ 8 ปี สรุปผลลัพธ์ดังนี้ 1) ด้านประสิทธิภาพใน 1 ปี พบว่ามีผู้ที่ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 70 ซึ่ง ร้อยละ 21 สามารถลดน้ำหนักได้ ≥5% รอบเอวลดลงร้อยละ 68 2) ด้านการเรียนการสอน พบว่าทัศนคติของแพทย์ประจำบ้านที่เข้า ร่วมในด้านความตระหนักและการป้องกันโรค เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 ที่ เริ่มต้น เป็นร้อยละ 76.3 3) ด้านการวิจัย อยู่ในช่วงการรวบรวม วิเคราะห์ ติดตามต่อเนื่อง เบื้องต้นพบว่าอุบัติการณ์สะสมของการเกิดเบาหวานใหม่มี ร้อยละ 6 จากการ ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3 ปี ซึ่งน้อยกว่าอุบัติการณ์ปกติthaมหาวิทยาลัยมหิดลการป้องกันโรคเบาหวานกลุ่มให้ความรู้การปรับพฤติกรรมMahidol Quality Fairโครงการให้ความรู้และพัฒนาทักษะการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานสำหรับกลุ่มเสี่ยงProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล