สมชาย ดุษฎีเวทกุลมหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก2018-05-022018-05-022561-05-022557https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11211W3 ก482ห ครั้งที่ 2 2557 ฉ.2 [LICL]วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการดำเนินงานวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตันที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 323 ราย ตั้งแต่ 24 พ.ค. 2555 ถึง 30 พ.ค. 2556 โดยประเมินผลการรักษาโรคเรื้อรังหรือปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ผลการวิจัย:ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 323 ราย โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน แต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป (Primary prevention) จำนวน 265 ราย(82%) และเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบตันแล้ว (Secondary prevention) จำนวน 58 ราย(18%) อายุเฉลี่ย 68.8 + 9.5 ปี พบว่าการควบคุมน้าหนักให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน หรือไม่มีภาวะอ้วนลงพุงในเพศหญิง (รอบเอว < 80 cm) เท่ากับ 12.7% เพศชาย (รอบเอว < 90 cm) เท่ากับ 41.9%, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการควบคุมความดันโลหิตได้ดี (< 140/90 mmHg) เท่ากับ 64.8%, ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ดี (HbA1c < 7%) เท่ากับ 44.2% ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงซึ่งในงานวิจัยนี้ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป ดังนั้นเป้าหมายการควบคุมไขมันให้ดีคือ LDL < 100 mg/dl เท่ากับ 52.2%, ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบหรือตันแล้ว ควบคุมไขมันได้ดี ( LDL<70 mg/dl) เท่ากับ 15.8%พบภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือ Atrial fibrillation 6.6% ผู้ป่วยเกือบทุกรายได้รับยาป้องกันการเกิดการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (95.2%) โดยได้รับ Aspirin 57.1%, Warfarin 38.1% ข้อสรุป: จากการศึกษานี้พบว่ามีประเด็นที่จะต้องไปพัฒนาการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดดังต่อไปนี้ ปัญหาอ้วนลงพุง หรือโรคอ้วนโดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ยังควบคุมได้ไม่ดี, การลดไขมันในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบ (Secondary prevention), เพิ่มการใช้ยา Warfarin เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือ Atrial fibrillationObjective: To assess the quality of care among patients with high cardiovascular risk in Golden Jubilee Medical Center. Method: Descriptive cross-sectional study. The patients who had 3 or more risk factors of cardiovascular disease or had previous history of cardiovascular events were enrolled at out-patient department of Golden Jubilee Medical Center between May 2012 and May 2013. The risk factors were assessed by using the international guidelines for the management of each risk factor. Result: Three hundred and twenty three patients were enrolled to the study. The group of high cardiovascular risk factor (> 3 risk factors) or primary prevention group had 265 patients (82%) and the group of previous history of cardiovascular events or secondary prevention group had 58 patients (18%). Mean age was 68.8 + 9.5 years old. Women who had no metabolic syndrome (waist circumference > 80 cm) had 12.7%. Men who had no metabolic syndrome (waist circumference > 90 cm) had 41.9%. Hypertensive patients who were achieved target blood pressure (<140/90 mmHg) had 64.8%. Diabetic patients who were achieved target HbA1c (<7%) had 44.2%. LDL level <100 mg/dl in primary prevention group patients was 52.2%. LDL level <70mg/dl in secondary prevention group patients was 15.8%. Prevalence of atrial fibrillation in this study was 6.6%. Almost of the patients who had atrial fibrillation were treated for thromboembolic prevention medication (aspirin 57.1%, warfarin 38.1%). Conclusion: The risk factors which are not achieved the goal of treatment should be revised. Metabolic syndrome or over weight problem especially in women is not yet good control. LDL level in the secondary prevention group is still high. Encourage warfarin is used in the patients who have atrial fibrillation.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโรคหัวใจและหลอดเลือดquality of carehigh cardiovascular risk patientการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกProceeding Articleศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล