สมทรง บุรุษพัฒน์มยุรี ถาวรพัฒน์ยุทธพร นาคสุขอภิชาติ ผาแดง2024-01-092024-01-09256325632567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91986ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรเสียงและคำศัพท์ของคนสามกลุ่มอายุในภาษาบีซู โดยศึกษาการแปรและเปลี่ยนแปลงของเสียงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันรวมถึงเปรียบเทียบการแปรคำศัพท์ของคนสามกลุ่มอายุในหมู่บ้านดอยชมภู อ.แม่ลาว จ.เชียงราย การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้รายการหน่วยอรรถจำนวน 500 หน่วยอรรถ แยกตามกลุ่มคำศัพท์ 13 หมวดหมู่ สอบถามผู้บอกภาษาจำนวน 15 คน จำแนกออกเป็นสามกลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุที่ 1 (อายุ 55 ปี ขึ้นไป) กลุ่มอายุที่ 2 (อายุ 35-45 ปี ) และกลุ่มอายุที่ 3 (อายุ 18-25 ปี) การวิเคราะห์การแปรเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ พบว่าปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการแปรเสียงเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ได้แก่ ธรรมชาติของภาษา หรือ การสัมผัสภาษา เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวมีการแปรทั้งหมด 20 หน่วยเสียงซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรที่เกิดจากการทำให้การออกเสียงสะดวกหรือง่ายขึ้นการแปรที่สำคัญ ได้แก่ การกลมกลืนเสียงของพยัญชนะ พบมากที่สุดในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 3 การละเสียงพยัญชนะควบเสียงที่ 2 ในพยางค์หลัก และพยางค์รอง การกลายเสียงจากพยัญชนะต้นควบไปเป็นเสียงสระของผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 2 และ 3 รวมถึงการแทรกเสียงพยัญชนะท้ายในคำพยางค์เปิด พบมากที่สุดในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 3 การแปรของเสียงสระพบการแปร 7 หน่วยเสียง เป็นการแปรของเสียงสระเสียงหนึ่งไปเป็นสระอีกเสียงหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งการเกิดเสียงที่ใกล้เคียงกัน พบมากที่สุดในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 2 และ 3 และพบว่ามีการใช้หน่วยเสียงสระประสมในคำยืมจากภาษาไทยมาตรฐาน การแปรเสียงวรรณยุกต์เป็นการแปรที่เกิดขึ้นในลักษณะเฉพาะตัว เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อจำกัด และพบการใช้หน่วยเสียงวรรณยุกต์คำยืมจากภาษาไทยมาตรฐานในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 2 และ 3 นอกจากนี้ยังมีการละพยางค์ การเพิ่มพยางค์ และการเปลี่ยนพยางค์ ผลการศึกษาการแปรคำศัพท์สรุปได้ว่าผู้บอกภาษามีการใช้คำศัพท์ 2 ลักษณะดังนี้ 1) การใช้คำศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามกลุ่มอายุใช้เป็นคำศัพท์เดียวกันซึ่งเป็นคำศัพท์เดิม ร้อยละ 73.6 โดยผู้บอกภาษาทั้งสามกลุ่มอายุใช้โดยไม่มีรูปแปรทางเสียงร้อยละ 29 และร้อยละ 44.6 เป็นคำศัพท์ที่มีรูปแปร 2) การใช้คำศัพท์ที่ผู้บอกภาษานำมาจากภาษาถิ่นอื่นโดยนำมาใช้ร่วมกันหรือใช้แทนศัพท์เดิมร้อยละ 24.4 โดยพบว่ากลุ่มอายุที่ 3 มีการใช้ภาษาถิ่นอื่นมากที่สุด และพบว่ามีร้อยละ 6.8 ที่ผู้บอกทั้งสามกลุ่มอายุใช้คำศัพท์ภาษาอื่นThis study examines the linguistic changes underway in the Bisu language as spoken in Doi Chompuu Village, Chiang Rai Province, Thailand, as manifested in the three age groups. This includes the variation in pronunciation and lexical choice. Fifteen Bisu speakers participated in the study, divided into three age groups: Age Group 1 (aged 55 years and older), Age Group 2 (aged 35-45 years old), and Age Group 3 (aged 18-25 years old). The data were analyzed qualitatively, focusing on the consonant, vowel, and tonal sounds. The results revealed that there were both internal and external factors influencing the phonological variation. There were 20 cases of consonant variation, of which the consonant assimilation was most remarkable in Age Group 3. Moreover, the deletion of the consonant clusters in the primary and secondary syllables, along with the sound shift from the initial consonant clusters to vowel sounds, was evident among Age Groups 2 and 3. In addition, the insertion of the syllable final consonants in the open-syllable words was distinct in Age Group 3. As for vowel variation, there were 7 cases where one vowel changed to another. This vowel variation was found extensively among Age Groups 2 and 3. Furthermore, diphthongs were found in the words borrowed from the Thai language. The observed tonal variation was arbitrary and yielded no constraint. The tonal variation in the words borrowed from the Thai language were obvious in Age Groups 2 and 3. Additionally, the results showed some syllable omission, syllable insertion, and syllable shift. The observed lexical variation indicated that the participants possessed two traits in their word choices. First, the word choices that all the three age groups used were closely connected to the wordlists collected 20-30 years ago by previous researchers, accounting for 73.6 percent of the total. Based on those older lists, all the participants pronounced 29 percent of the words without any variation, while 44.6 pronounced the words with some variations. Second, the lexical choices in the cases of loan words and used both along with and in place of the native words on the older lists accounted for 24.4 percent of the total. The speakers in Age Group 3 were most likely to use the loan words. In addition, all age groups used the loan words in 6.8 percent of elicited words.ก-ฏ, 170 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaมหาวิทยาลัยมหิดลภาษาบีซู -- สัทวิทยาภาษาบีซู -- ความผันแปรการแปรเสียงและคําศัพท์ของคนสามกลุ่มอายุในภาษาบีซูPhonological and lexical variation among three generations in Bisu languageMaster Thesisผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า