ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์เสาวภา พรสิริพงษ์ทรงฤทธิ์ ศรีสารคาม2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93683วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเชื่อเรื่องการแก้บนผ่านกระบวนการแสดงหนังตะลุงของคณะ ว. รวมศิลป์ในจังหวัดเพชรบุรี วิธีการวิจัยใช้การวิจัยทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและมานุษยวิทยาการดนตรี โดยการสัมภาษณ์ระดับลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ชาวเพชรบุรีมีความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในพื้นที่ของ ตนอย่างมั่นคง ได้แก่ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าปู่ เจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน ฯลฯ ดังนั้น เมื่อมีปัญหาในชีวิต ชาวเพชรบุรีจึงบนและแก้บนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ โดยนิยมแก้บนด้วยหนังตะลุง โดยเฉพาะ คณะ ว. รวมศิลป์ เนื่องจากหนังตะลุงคณะนี้มีศิลปะในการแสดง และมีความสามารถในการแก้บนที่ชาวบ้านประทับใจ ให้บรรยากาศของความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ จึงเห็นได้ว่าหนังตะลุงมีบทบาทในการรับใช้สังคม โดยทำหน้าที่เป็นมหรสพแก้บน ช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความ สบายใจให้ชาวเพชรบุรี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้สภาพสังคมรวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนในเพชรบุรีจะเปลี่ยนแปลงไป แต่วัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังคงอยู่ เห็นได้จากการแสดงแก้บนด้วยหนังตะลุงที่มีอยู่ตลอดทั้งปี ยกเว้นวันพระและช่วงเข้าพรรษา นอกจากนี้ ศิลปะการดนตรีและ การแสดงของคณะว.รวมศิลป์ ยังสร้างความบันเทิงสนุกสนานให้แก่ผู้ชมอีกด้วยการแสดงหนังตะลุง คือตัวอย่างศิลปะการแสดงที่ยังคงอยู่ได้ด้วยความเชื่อและ พิธีกรรมของผู้คนในสังคมเพชรบุรี สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาและความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่เสื่อมคลายแม้ว่าสังคมปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปก-ฌ, 126 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการแก้บนความเชื่อ -- ไทย -- เพชรบุรีหนังตะลุงแก้บนในจังหวัดเพชรบุรี : กรณีศึกษาคณะ ว. รวมศิลป์Talung shadow play for making a votive offering in Phetchaburi province : a case study of V. Ruam-Silp bandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล