พิมลพรรณ อิศรภักดีธัญลักษ์ รุจิภักดิ์พึงพิศ ชัยภักดี2024-01-162024-01-16255825672558วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92864วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของภาวะ เจริญพันธุ์ของสตรีไทยพุทธและไทยมุสลิมและเพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ของสตรีไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย ใช้ข้อมูลจากโครงการการสำรวจอนามัย การเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือสตรีวัยเจริญ พันธุ์ในภาคใต้ อายุ 15-49 ปี นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม สถานภาพสมรสและเคยสมรส จำนวน 4,070 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น พบว่าสตรีที่เป็นตัวอย่าง มีอายุแรกสมรสเฉลี่ย 21.8 ปี โดยสตรีไทยมุสลิมมีอายุแรกสมรสน้อยกว่าสตรีไทยพุทธ อายุแรกสมรส น้อยที่สุดในการศึกษาครั้งนี้คือ 12 ปี มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 2.04 คน โดยสตรีไทยมุสลิม มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยมากกว่าสตรีไทยพุทธ และผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นพบว่า อายุสตรี อายุแรกสมรส และศาสนาส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสตรีอายุมาก ขึ้นมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากขึ้น สตรีไทยมุสลิมมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากกว่าสตรีไทยพุทธ และสตรีที่ มีอายุแรกสมรสน้อยจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดมากกว่าสตรีอายุแรกสมรสมาก และทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกัน อธิบายการผันแปรของจำนวนบุตรเกิดรอดได้ร้อยละ 53.5 (R2 = .535) ตัวแปรที่อธิบายจำนวนบุตรเกิด รอดได้ดีที่สุดคือ อายุสตรี อายุแรกสมรส และศาสนา ผลการศึกษาเสนอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐควร ตระหนักและมีมาตรการให้นโยบายส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ลงไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้พบว่าทั้งสตรีไทยพุทธ และสตรีไทยมุสลิมมีอายุแรกสมรส ค่อนข้างต่ำคือ 13 ปี และ 12 ปี ตามลำดับThis study is a quantitative study aiming to study the fertility differential between Thai Buddhist women and Thai Muslim women and to examine religious influence on fertility of ever- married women in the southern part of Thailand. This study employs secondary data from the Reproductive Health Survey year, 2009 conducted by the Thailand National Statistical Office. The sample is 4,070 Thai Buddhist women and Thai Muslim women in reproductive ages, from 15 to 49 years old whose, marital statuses include currently married and ever-married. Hierarchical regression analysis is used to analyse the effect of religion on fertility. The findings illustrate that the average age of first marriage is 21.8 years old for women in the southern part of Thailand, where Muslim women get married at the earlier age than Buddhist women. The earliest age of marriage found in this study is 12 years old. The mean number of children ever born is 2.04 children. The Muslim women have a higher number of children than Buddhist women. According to hierarchical regression analysis, the results indicate that age of women, first age of marriage, and religion are statistically significantly related to fertility. The number of children ever born increases with age of women. The Muslim women have a higher number of children than Buddhist women. Moreover, women with younger age of first marriage tend to have more number of children ever born than those who get married at an older age. These three variables can explain 53.5% of the variation in number of children ever born (R2 = .535). The results of this study imply that the government should be aware of the effects of these three factors and implement a policy promoting reproductive health, especially for teenagers. This study demonstrates that first age of marriage in both Buddhist and Muslim women is quite low, i.e., 13 and 12 years old, respectively.ก-ฌ, 79 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าภาวะเจริญพันธุ์สตรี -- สุขภาพและอนามัยอนามัยเจริญพันธุ์ภาวะเจริญพันธุ์ -- ไทย (ภาคใต้)ความแตกต่างของภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยพุทธและมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทยFertility differential between Buddhist and Muslim women in Southern ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล