ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญวรรณา พาหุวัฒนกรนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ภาสวีน์ เทพกาล2024-01-092024-01-09256225622567วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92054สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้จริยธรรมวิชาชีพพยาบาลและวัฒนธรรมองค์กรพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพกับการรับรู้จริยธรรมวิชาชีพพยาบาลและวัฒนธรรมองค์กรพยาบาล ข้อมูลที่ใช้เก็บจากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ แบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามที่นามาวิเคราะห์ทั้งหมด 249 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.21 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2550 อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อบังคับสภากาพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ กลุ่มงานการพยาบาลที่สังกัด ส่วน อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติติงาน ระดับการศึกษา ไม่มี ความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อบังคับสภากาพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 (p>0.05) และคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้วัฒนธรรมองค์กร ส่วนผลการศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อปฏิบัติงานด้วยความเป็นพี่น้อง เป็นกัลยาณมิตรมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.27, SD = 0.493) ควรส่งเสริมกิจกรรมการปลูกฝังความเอื้ออาทรThis research is a survey study with the objective to study the level of professional nursing ethics perception, and organizational culture perception. This research also studied about the association of demographic characteristics of professional nurses and perceptions on ethics and organizational culture. Data were collected from 276 professional nurses in a university hospital, and research instrument was a questionnaire. There were 249 returned questionnaires, accounting for 90.2%. Data analysis included were percentage, mean, standard deviation and Chi-square test. The research found that professional nurses had the highest level of perceptions on Nursing Council Regulation on professional ethics of nurse and midwifery, B.E.2550, and organizational culture. Demographic characteristic associated with highest perception on Nursing Council Regulation on professional ethics of nurse and midwifery B.E.2550, with statistical significant, was a particular department where nurses were being employed (p<0.05). Age, marital status, length of employment, and level of education were not related to perception of Nursing Council Regulation on professional ethics of nurse and midwifery B.E.2550. Demographic characteristics were not related with the perception of organizational culture. As far as perception of detailed organizations culture was concerned, every item on the questionnaire received highest score. The items on seniority and companionship had the lowest score ( = 4.27, SD = 0.493). It is recommended that activities for improving professional relationship and camaraderie among senior staff should be promoted.ก-ซ, 94 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพยาบาล -- จริยธรรมการรับรู้จริยธรรมวิชาชีพพยาบาลและวัฒนธรรมองค์กรของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยPerceptions of professional nurses regarding ethics and organizational culture in a university hospitalMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล