สุธารัตน์ ชัยเฉลิมศักดิ์Sutharat Chaichalermsakนัยนา บูรณชาติNaiyana Buranachadสุพานี ธนาคุณSupanee ThanakunMahidol University. Faculty of Dentistry. Dental HospitalMahidol University. Faculty of Dentistry. Department of Hospital DentistryMahidol University. Faculty of Dentistry. Department of Oral Medicine2014-06-282016-12-272014-06-282016-12-272557-06-062553วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหิดล. ปีที่ 30, ฉบับที่ 3(2551),173-1840125-5614 (printed)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1046วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการสำคัญ การวินิจฉัย การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินในผู้ป่วยทันตกรรมกลุ่มหนึ่ง ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินทั้งหมด จำนวน 1,724 ราย บันทึกข้อมูล อายุ เพศ อาการสำคัญ การวินิจฉัย การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินของผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยทันตกรรม 1,724 ราย เป็นเพศชาย 599 ราย (ร้อยละ 32.4) เพศหญิง 1,165 ราย (ร้อยละ 67.6) อายุระหว่าง 11-87 ปี อายุเฉลี่ย 43.9±15.4 ปี อาการสำคัญที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ ปวดฟัน (ร้อยละ 27.8) รองลงมาคือ เสียวฟัน (ร้อยละ 21.8) และวัสดุเก่ามีปัญหา (ร้อยละ 16.1) การวินิจฉัยที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ โรคเนื้อเยื้อในอักเสบผันกลับไม่ได้และ/หรือเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบ (ร้อยละ 16.6) รองลงมาคือฟันสึกและฟันแตก (ร้อยละ 11.3) และวัสดุอุดฟันชำรุดบกพร่อง (ร้อยละ 10.3) การรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ งานทันตกรรมหัตถาการ (ร้อยละ 49.8) รองลงมาคือ งานรักษาคลองรากฟัน (ร้อยละ 32.3) และงานรักษาโรคปริทันต์ (ร้อยละ8.9) บทสรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยทันตกรรมส่วนใหญ่มาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหาโรคของฟันและเนื้อเยื้อใน การรักษาที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นงานทันตกรรมหัตถการและงานรักษาคลองรากฟัน ซึ่งสอดคล้องกับอาการสำคัญและการวินิจฉัย ชี้ให้เห็นว่าโรคฟันผุยังเป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยทันตกรรม การรักษาทางทันตกรรม ร่วมกับการป้องกันโรคฟันผุที่เหมาะสมจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีของผู้ป่วยObjective: To study the chief complaints, diagnoses, primary and emergeny treatments in a group of Thai dental patients at Faculty of Dentistry, Mahidol University, 2008. Materials and Methods: One thousand seven hundred and twenty four dental chart records were collected to study retrospectively. Data on age, gender, chief complaints, diagnoses, primary and emergency treatments were recorded and analyzed. Result: 1,724 dental patients, 559 (32.4%) were men and 1,165 (67.6%) were women. Age range was between 11-87 years with an average of 43.9±15.4 years. The most common chief complaint was toothache (27.8%) followed by sensitive teeth (21.8%) and broken restorations (16.1%). The most common diagnosis was irreversible pulpitis with/ without apical periodontitis (16.6%), followed by tooth wear and fracture of tooth (11.3%) and defective restoration/improper restoration (10.3%). The most common primary and emergeny treatment was operative treatment (49.8%), followed by endodontic treatment (32.3%) and periodontal treatment (8.9%). Conclusion: Common problems of dental patients were dental caries and pulpal diseases. Regular primary and emergency treatments were operative and endodontic treatment which were consistent with chief complaints and diagnoses. This study suggested that dental caries is the main problem of dental patients. Dental treatment and proper preventive care will lead to good oral hygiene of dental patients.thaมหาวิทยาลัยมหิดลDental patientChief complaintDiagnosisPrimary and emergency treatmentผู้ป่วยทันตกรรมอาการสำคัญการวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินOpen Access articleวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดลMahidol Dental Journalอาการสำคัญ การวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้นและฉุกเฉินในผู้ป่วยทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551Chief complaints, diagnoses, primary and emergency treatments in dental patients : Faculty of Dentistry, Mahidol University 2008Articleคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล