สาวิตรี ทยานศิลป์ดลพัฒน์ ยศธรเดชาภิวัชร์ นพมิตร2024-01-122024-01-12256025672560วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92522พัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุ คือ ภาวะสมองเสื่อมและความว้าเหว่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมและความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุงเป็นประจำกับผู้สูงอายุที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 63 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุงเป็นประจำ โดยเป็นสมาชิกวงอังกะลุง 2,000 ปี ของเทศบาลตำบลบ้านค่ายพัฒนา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ สมาชิกทั้งวง ฯ จำนวนทั้งหมด 31 คน และผู้สูงอายุที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุง ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน แต่ไม่เป็นสมาชิกของวงอังกะลุง 2,000 ปี และไม่มีประสบการณ์ในการเล่นอังกะลุง โดยสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็นในการเลือกด้วยการจับสลาก จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะสมองเสื่อมและความว้าเหว่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ ดังนั้น กิจกรรมการเล่นอังกะลุงอาจมีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมและลดความรู้สึกว้าเหว่ในผู้สูงอายุได้Thailand has become an aging society. Dementia and loneliness are common health problems of the elderly people. This study aimed to compare dementia and loneliness in the elderly who regularly participated in playing Angklung activity and the elderly who never participated. The data were collected on the sampling of 63 respondents which divided into two groups a group of 31 person who habitually participated in Anklung Songpanpii Band in Ban Khai Phatthana municipal district, and a group of aging who never attend to the activity which 32 persons selected by probability sampling. The data were statistically analyzed by using frequency, mean and percentage distribution, and compared the differences by Independent t-test. The result of this study found the statistically significant differences of dementia (p-value= 0.001) and loneliness (p-value= 0.05) between two sampling groups. Hence, playing Angklung activities can decelerate dementia and decrease loneliness in the elderly people.ก-ฎ, 122 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การพยาบาลดนตรีบำบัดอังกะลุงการศึกษาเปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมและความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุงและผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุงA comparative study of dementia and loneliness among the elderly between participants and non-participants of playing Angklung activityMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล