กมลพร สอนศรีชนิกานต์ ถาวรยุติการต์2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93933รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพการปฏิบัติงานในปัจจุบันของเทศบาลนครนนทบุรีตามแนวคิดMalcolm Baldrige ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของเทศบาลนครนนทบุรี และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเทศบาลนนทบุรี ทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานเทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 292 คน สำหรับตอบแบบสอบถาม แต่จากการเก็บภาคสนามได้กลุ่มตัวอย่าง 236 คน หรือร้อยละ 80.8 ของประชากรทั้งหมด และผู้บริหารเทศบาลนครนนทบุรี จำนวนทั้งสิน 3 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า สถานภาพการปฏิบัติงานของเทศบาลนครนนทบุรีตามแนวคิด Maclom Baldrige ทั้ง 7 ด้าน ซึ่งได้แก่ 1. ด้านภาวะผู้นำ 2. ด้านสารสนเทศและการวิเคราะห์ 3. ด้านการวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ 4. ด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5. ด้านการจัดการกระบวนการคุณภาพ 6. ด้านการสนใจลูกค้าและความพึงพอใจลูกค้า 7. ด้านผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยรวม 3.79 ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค พบว่า ปัญหาภายนอกเทศบาล คือประชาชนไม่เคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกันโดยดึงรัฐเข้ามาเป็นตัวกลางเพื่อไกล่เกลี่ยและปัญหาภายในเทศบาลคือไม่สามารถบริการประชาชนตามที่ประชาชนคาดหวัง ติดขัดที่กฎระเบียบ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ 1. มีการจัดทำคู่มือ Manual และติดตามผลเป็นระยะ 2. สร้างให้เจ้าหน้าที่ในองค์กรมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ 3. มีการปลูกฝัง และสร้างจิตสำนึกในการให้บริการ 4. การรณรงค์ให้ประชาชนมีความผูกพันกับชุมชนThis study was to investigate the existing work status of the Nonthaburi Metropolitan municipality based on the Malcolm Baldrige model, its problems and limitations in working and to find ways of improving its work effectiveness. The research instruments were questionnaires and interviews. Questionnaire were used as a quantitive research, in this study of 292 staff. However only 236 staff (80.8%) were active in field work. Three administrators were interviewed in this study. SPSS was used for data analysis and the statistical applications were percentage and mean. It was found that the work status of the Nonthaburi Metropolitan municipality based on the Malcolm Baldrige model of 7 areas, i.e. 1) leadership, 2) information and analysis, 3) strategic planning, 4) HR development and management, 5) process management, 6) customer focus and satisfaction and 7) operational results, was at the high level with a mean of 3.79. The problems and limitations were found to be external ones, i.e. people did not respect each other's rights and involved the state as a middle man for compromises. Internal problems and limitations were the inability to provide services expected by people because of rules and regulations. It is recommended that 1) manuals be prepared and timely follow-up ensured ; 2) staff be prepared to work independently 3) consciousness in servicing be implanted and built 4) community commitment be encourage.ก-ช, 128 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการบริหารคุณภาพโดยรวมการบริหารงานบุคคลการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรตามแนวคิด Malcolm Baldrige : กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรีTotal quality management by using malcolm baldrige model : a case study of Nonthaburi metropolitan municipalityMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล