ผกามาศ อรุณสวัสดิ์ฉวีวรรณ บุญสุยาณัฐนารี เอมยงค์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.2015-10-192021-09-202015-10-192021-09-202558-10-092558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63584การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 40ภูมิหลัง: ประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งผู้สูงอายุไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 13.2 ในปี พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 15.8 ในปี พ.ศ. 2558 อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังสามารถพบได้บ่อยในประชากรกลุ่มนี้ทำให้ความเร็วในการเดินลดลง นอนหลับยากขึ้น รบกวนการทำกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม ตลอดจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยด้านจิตสังคมต่ออาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในผู้สูงอายุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตท่าทางการนั่ง การยืน และการเดินในผู้สูงอายุ 188 คน จากชมรมผู้สูงอายุอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษา: พบความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังร้อยละ 66.5 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระดับการศึกษาจำนวนโรคเรื้อรัง การเอี้ยวเพื่อหยิบของทางด้านข้าง/ด้านหลัง ลักษณะที่นอน การยืนและการเดิน สรุปผลการศึกษา: เพื่อการป้องกันหรือการลดความรุนแรงของอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ควรให้ความรู้โดยการปรับปรุงรูปแบบการเดินให้ถูกต้องแก่ผู้สูงอายุthaมหาวิทยาลัยมหิดลการปวดหลังปัจจัยเสี่ยงผู้สูงอายุความเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในผู้สูงอายุProceeding Poster