รศรินทร์ เกรย์วาทินี บุญชะลักษีณิชาภัทร ใจยะทิ2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93606วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของภาวะทุพพลภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี โดยศึกษาเชิงปริมาณและใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี รอบ 4 (2546) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีระหว่างอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,281 คน เพศชายจำนวน 1,934 คน และเพศหญิงจำนวน 2,347 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 18 หรือประมาณเกือบ 1 ใน 5 เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพระยะยาว โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย และเมื่อวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวของผู้สูงอายุ (Logistic Regression Analysis) พบว่า เพศ อายุ สภาวะการทำงาน การดื่มสุราในปัจจุบัน จำนวนโรคเรื้อรัง ประเภทของโรคเรื้อรัง การมีความผิดปกติด้านการรับรู้ และการมีความผิดปกติทางสุขภาพจิต มีอิทธิพลต่อภาวะทุพพลภาพระยะยาวของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุเพิ่มขึ้นจะทำให้มีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานจะทำให้มีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวมากกว่าผู้สูงอายุที่ยังทำงาน และผู้สูงอายุที่เคยดื่มสุราเป็นประจำในอดีตแต่ปัจจุบันเลิกดื่มแล้วจะทำให้มีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวมากกว่าผู้สูงอายุที่ดื่มสุราเป็นประจำในปัจจุบัน นอกจากนั้นผู้สูงอายุที่มีจำนวนโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นจะทำให้มีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวสูงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติด้านการรับรู้และความผิดปกติทางสุขภาพจิตจะทำให้มีโอกาสในการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาวมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีความผิดปกติด้านการรับรู้และไม่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตก-ฌ, 172 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าผู้สูงอายุ -- ไทย -- กาญจนบุรีความพิการ -- ไทย -- กาญจนบุรีปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีFactors affecting long term disabilities of older abults : evendence from Kanchanaburi Demographic Surveillance System (KDSS)Master Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล