เนตรทราย ปัญญชุณห์ธราดล เก่งการพานิชสุปรียา ตันสกุลสุพร อภินันทเวชมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาลโรงพยาบาลสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์2022-06-242022-06-242565-06-242552วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 32, ฉบับที่ 111 (ม.ค.- เม.ย. 2552), 32-41https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/71595พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตชนบท เป็นประเด็นปัญหา ที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม (Twogroup Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิต เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 105 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 55 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการ เสริมสร้างทักษะชีวิต ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาในชั้นเรียนตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ Paired samples t-test และ Independent, s t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนหญิงกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเริ่มโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แม้ว่า จะไม่พบการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p=0.123) อย่างไรก็ตาม พบว่า นักเรียนหญิงกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในบางประเด็นซึ่งช่วยลดโอกาสของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เช่น หลีกเลี่ยงการไปไหนสองต่อสอง กับเพื่อนชาย เป็นต้น สำหรับการประยุกต์โปรแกรมนี้กับนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ที่มีบริบทคล้ายคลึงกันอย่างมีประสิทธิผล ผู้ดำเนินการโปรแกรมจำเป็นต้องคลุกคลีกับเด็กนักเรียนด้วย ความรักและจริงใจเพื่อสร้างความไว้วางใจเพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ปรับวิธีการสอน สอดแทรกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียน และมีการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรม ในระยะยาว สำหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาโปรแกรมในระยะต่อไปควรนำทฤษฎีการกำกับตนเอง (Self– Regulation Theory) มาประยุกต์ร่วมด้วย พร้อมกับเสริมสร้างให้ครอบครัวหรืออาสาสมัครชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของ นักเรียนหญิงที่เหมาะสมยิ่งขึ้นSexual behavior among female junior high school students in rural areas is one important issue that needs to be addressed. This quasi-experimental research, of a two-group pretest-posttest design, aimed to study the effectiveness of a life skills promoting program to prevent sexual behavior among female grades 7 and 8 students. The samples composed 105 students, 55 in the experimental group and 50 students in the comparison group. The experimental group participated in the life skills promoting program while the comparison group received the normal sex education lesson organized in the classroom. A questionnaire was used for collecting data and the data were analyzed by using statistics regarding frequency, percentage, arithmetic mean, paired sample t-test, and independent t-test. The research results showed that after the experimental group participated in the program, increased mean scores of the experimental group was found in regard to skills to resist having sexual behavior (p<0.001), even though the change of the mean score of students’ actions to prevent sexual behavior were not found to be significant (p=0.123). However, changes in some aspects were found among the experimental group which may help to lower the chance of having sexual behavior during school age; for example, avoiding going out with a boyfriend. In order to apply this type of program effectively to other groups of female junior high school students that have a similar context, the director of the program should participate closely with the students with love and sincerity in order to develop mutual trust since sex-related contents are very sensitive. Besides this, teaching methods should be relevantly organized and modified for daily lifestyles of the target students and long-term behavioral surveillance should also be done. Self-regulation theory should also be applied for furthering the research project in order to develop this type of the program. Encouraging families or community volunteers to participate in the program for more adequate follow-up and behavioral surveillance programs to prevent sexual behavior among female students should be done.thaมหาวิทยาลัยมหิดลทักษะชีวิตเพศสัมพันธ์นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นการสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นLife Skills Promoting Program to Prevent Sexual Behavior Among Female Junior High School StudentsResearch Article