มณฑา เก่งการพานิชศรัณญา เบญจกุลธราดล เก่งการพานิชลักขณา เติมศิริกุลชัยภิฤดี ภวนานนท์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข.2014-11-212020-10-122014-11-212020-10-122557-11-212555-04https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59345มาตรการภาษีที่มีประสิทธิภาพมีผลต่อการลดการบริโภคยาสูบลง หากแต่ผลกระทบอีกด้านหนึ่งที่เป็นที่วิตกคือการลักลอบบุหรี่เถื่อนที่มีมากขึ้น การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์การสูบยุหรี่ผิดกฏหมายของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน การรับรู้และความคิดเห็นของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันต่อบุหรี่ผิดกฏหมาย และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไม่เสียภาษีของผู้สูบบุหรี่ในภาคใต้ทำการศึกษาในผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเลือกตัวอย่างเป็นระบบด้วยระเบียบวิธีการแจงนับและนับจด กำหนดกลุ่มเป้าหมายใน 8 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ ปัตตานี สตูล สงขลา พัทลุง พังงา ระนอง ภูเก็ตและสุราษร์ธานี โดยเลือกเฉพาะในเขตเทศบาล/เมือง ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 2,048 ตัวอย่างดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมซองบุหรี่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วยสถิติ Logistic Regression คำนวณค่า OR และ Cox & Snell R Square ผลการศึกษา ผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันในภาคใต้สูบบุหรี่ผิดกฏหมายร้อยละ 16.0 โดยพิจารณาจากซองบุหรี่ที่ไม่อากรแสตมป์ไทยที่แสดงถึงการเสียภาษี คุณลักษณะของผู้สูบบุหรี่ผิดกฏหมายพบว่า เพศหญิงสูบบุหรี่ผิดกฏหมายสูงกว่าเพศชายร้อยละ 3 กลุ่มอายุต่ำสูบบุหรี่สูงกว่าที่อายุมาก นักเรียน/นักศึกษาสูบบุหรี่ผิดกฏหมายสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ เป็นกลุ่มที่รายได้น้อยคือในกลุ่มจนถึงปานกลาง โดยจังหวัดที่พบสูงที่สุดคือ จ.ปัตตานี สตูลและสงขลา ผู้สูบบุหรี่ผิดกฏหมายส่วนใหญ่ร้อยละ 82.5 ซื้อบุหรี่เป็นซอง โดยร้อยละ 76.9 ซื้อบุหรี่ครั้งล่าสุดดังกล่าวจากร้านขายของชำ มากกว่านั้น ร้อยละ 22.3 ของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน และร้อยละ 72.5 ของกลุ่มที่ปัจจุบันสูบบุหรี่ที่ไม่ผิดกฏหมายเคยมีประสบการณ์ซื้อบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษีใน 12 เดือนที่ผ่านมา โดยแหล่งที่ซื้อบุหรี่ที่เชื่อได้ว่าไม่เสียภาษีคือ ร้านขายของชำ ร้อยละ 72.5 รองลงมาคือ ตลาดมืดและพ่อค้าเร่ สำหรับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ผิดกฏหมายพบว่าร้อยละ 9.4 ของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันและร้อยละ 54.0 ของผู้สูบบุหรี่ผิดกฏหมายรับรู้ว่าบุหรี่ที่ตนซื้อสูบเป็นบุหรี่ไม่เสียภาษีอย่างแนนอนโดยสังเกตจากภาพคำเตือนบนซองบุหรี่และอากรแสตมป์ ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 17.3 มีความคิดเห็นว่าหาซื้อบุหรี่ผิดกฏหมายได้ง่าย จากการศึกษาพบ 7 ตัวแปรที่เป็นปัจจัยร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไม่เสียยภาษี โดยเรียงจากปัจจัยที่มีผลอิทธิพลมากไปน้อย ดังนี้ 1) การรับรู้ว่าบุหรี่ที่ซื้อล่าสุดเป็นบุหรี่ที่ไม่เสียภาษี 2) จังหวัด 3) การรับรู้ว่าบุหรี่ที่จำหน่ายรอบ ๆ ที่อยู่อาศัยเป็นบุหรี่ไม่เสียภาษี 4) ความพยายามในการซื้อบุหรี่ราคาถูกกว่าปกติใน 6 เดือนที่ผ่านมา 5) อาชีพ 6) สถานภาพทางเศรษฐกิจ และ 7 )กลุ่มอายุ ซึ่งทั้ง 7 ปัจจัยมีความสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสูบบุหรี่ไม่เสียภาษีได้ ร้อยละ 40.8 จากผลการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องร่วมกันปราบปราบบุหรี่กรลักลอบบุหรี่หนีภาษีอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังควรมีมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด การขึ้นภาษีอย่างต่อเนื่อง ปรับแก้กฏหมายให้เพิ่มบทลงโทษการละเมิด การรณรงค์ให้ความรู้แก่เยาวชน และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังบุหรี่หนีภาษีในพื้นที่Tax measure is one of the most effective policy interventions to reduce tobacco use but the smuggling is the opposite impact that was worried. This cross-sectional study aimed to explore the situation of illicit cigarette use among current smokers in the south of Thailand and the perception regarding the accessibility of illicit cigarette in those areas. Target groups are current smokers aged 18 years and over, living in municipal or urban areas, in eight provinces of the south; Pattani, Satul, Songkhla, Phangha, Ranong, Phuket and Suratthani. Samples were selected by systematic sampling with listing and data collection. Data were collected by face to face interview and cigarette pack gathering from 2,048 samples during May to June, 2011 and analyzed the factors influencing on illicit cigarette behavior by Logistic Regression, OR and Cox & Snell R Square. The results showed 16 % of current smokers smoked illicit cigarettes, considered by examination the tax stamp on the packs. The traits of illicit cigarette smokers are high among female (higher than male for 3%), the lower age, student and low to moderate income groups. The three provinces which found highly use illicit cigarette were Pattani, Satul and Songkhla. 76.9% of illicit cigarette purchased the last cigarette from grocery shops. In the past 12 months, 22.3% of current smokers and 72.5% of illicit cigarette users had ever bought illicit cigarettes from grocery shops and they believed that those cigarettes were illegal. 9.4% of current smokers and 54.0% of illicit cigarette users strongly believed that those purchased cigarettes were illicit which notified by Thai pictorial health warning and had not Thai tax stamp. 17.3% of current smokers opined that it’s quite easy for illicit cigarette buying. The results revealed seven factors influencing on the illicit cigarette smoking from high to low influence. They were 1) perceived the last cigarette purchase was illicit 2)province 3) perceived cigarette selling around residence was illicit 4) tried to buy cheaper cigarette than normal cigarette in the past 6 months 5) occupation 6) economic status and 7) age group. These 7 co=factors could estimate the illicit cigarette smoking for 40.8% These results recommend the related organization to join to strictly subdue the cigarette smuggling including execute the other measures together such as strictly law enforcement, continuously tax increasing, adjust law to increase the punishment of violation, health education to youth, and develop illicit cigarette surveillance system.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการสูบบุหรี่คนสูบบุหรี่บุหรี่กฎหมายและระเบียบข้อบังคับไทยภาคใต้พฤติกรรมการสูบบุหรี่ผิดกฎหมายของผู้สูบบุหรี่ปัจจุบันในภาคใต้ของไทยIllicit cigarette smoking among current smokers in the south of ThailandResearch Reportมหาวิทยาลัยมหิดล