สุนีย์ พงษ์พินิจภิญโญปรเมศวร์ บุญยืนสามารถ สุขเจริญ2024-01-232024-01-23255625672556วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93515งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมประยุกต์ภาพสื่อความ หมายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ Motor Aphasia บนอุปกรณ์แท็บเล็ต ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการสื่อความหมายระหว่างผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และทีมสหวิชาชีพ โดยการวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 50 คน เป็นเพศชาย 41 คนและเพศหญิง 9 คน อายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยร้อยละ 76.0 สามารถใช้โปรแกรมภาพสื่อความหมายสื่อสารได้ และมีผู้เข้าร่วมวิจัย ร้อยละ 24.0 ที่ไม่สามารถใช้โปรแกรมภาพสื่อความหมายสื่อสารได้ แต่ผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มนี้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นโดยการพยักหน้าหรือส่ายหน้าสำหรับการตอบรับหรือปฏิเสธตามลำดับ โดยเวลาเฉลี่ยในการชี้ภาพตอบคำถามเท่ากับ 2.26 วินาที ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีระดับความพึงพอใจโดยรวมต่ออุปกรณ์แท็บเล็ตอยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าอุปกรณ์แท็บเล็ตและซอฟต์แวร์มีความเหมาะสมThis study aimed to evaluate an application for communication using meaningful pictures on a tablet for people with motor aphasia. The program was developed to assist in interpretation between patients, caregivers, and a multidisciplinary team. This research involved 50 participants (41 males and 9 females) aged over 30 years. The results showed that 76% of participants could use the program to communicate however, 24.0 % of participants could not use the program. Participants that could not use the program to communicate were able to communicate by other nonverbal means such as a nod or a shake of the head for acceptance or rejection, respectively. The average time to answer questions was 2.26 seconds. The level of overall satisfaction with the device and the software was quite satisfied and equipment and software was appropriate.ก-ญ, 116 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการสื่อสารการสื่อสารทางการแพทย์การสื่อสารกับผู้ป่วยคนพิการ -- การสื่อสารการประเมินผลโปรแกรมประยุกต์ภาพสื่อความหมายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ Motor Aphasia บนอุปกรณ์แท็บเล็ตEvaluation of application for communication using meaningful pictures on a tablet for people with motor aphasiaMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล