อรพรรณ แก้วสวยกุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์ศุภร วงศ์วทัญญูOraphan KaewsuayKusuma KhuwatsamritSuporn Wongvatunyuมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-10-222019-10-222562-10-222560รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค.. 2560), 298-3130858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47944การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ประเมินระดับการรับรู้ สติของผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 26 ราย เป็นพยาบาลหอผู้ป่วย วิกฤตศัลยกรรมที่มีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมองที่เข้ารับการรักษาที่ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม จำนวน 66 ราย วิธีดำเนินการวิจัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินผู้ป่วย ด้วยกลาสโกว์โคมาสเกลและโฟร์สกอร์ จากนั้นให้พยาบาลประเมินกลาสโกว์โคมาสเกลและ โฟร์สกอร์ ในผู้ป่วยรายเดียวกันโดยระยะเวลาห่างกันไม่เกิน 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า การใช้ แบบประเมินการรับรู้สติโฟร์สกอร์ เพื่อประเมินการรับรู้สติในผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง เปรียบเทียบกับแบบประเมินกลาสโกว์โคมาสเกล มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ในระดับสูง นอกจากนี้ การประเมินการรับรู้สติด้วยแบบประเมินโฟร์สกอร์ เปรียบเทียบกับแบบประเมิน กลาสโกว์โคมาสเกล ในผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมองที่มีการรับรู้สติต่างกัน พบว่า ระดับการ รับรู้สติที่ดี ภาวะง่วงซึม ภาวะมึนงง และหมดสติ มีความตรงตามเกณฑ์ในระดับปานกลางถึงดีมาก สำหรับความสอดคล้องหรือความเที่ยงของการใช้แบบประเมินการรับรู้สติโฟร์สกอร์และกลาสโกว์ โคมาสเกล ระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลวิกฤตศัลยกรรมที่อายุงานมากกว่า 5 ปี และ 2-5 ปี พบว่ามีระดับดีมากและดี ตามลำดับ การวิเคราะห์รายด้านของแบบประเมินโฟร์สกอร์ พบ ว่า การประเมินด้านการเคลื่อนไหวมีความสอดคล้องกันน้อยที่สุดและรายด้านของแบบประเมิน กลาสโกว์โคมาสเกลพบว่า การประเมินด้านการพูดมีความสอดคล้องกันน้อยที่สุด สรุปแบบประเมิน โฟร์สกอร์ มีความตรงและความเที่ยงในการประเมินการรับรู้สติ พยาบาลที่มีอายุงานน้อยควร ได้รับการอบรมก่อนนำไปใช้This study aimed to investigate the properties of the tools used to assess the level of consciousness of patients with neurological diseases. The sample consisted of 26 critical care nurses with two or more of year experiences and 66 patients with neurological diseases admitted to the surgical intensive care ward. For the study method, neurosurgeons assessed patients with the Glasgow Coma Scale (GCS) and the Full Outline of Unresponsiveness (FOUR) Score and then, nurses assessed patients with the GCS and the FOUR Score in the same patients by a period of no more than 30 minutes each time. Using the FOUR Score, as compared to using the GCS, to assess the consciousness in patients with neurological diseases, the criterion related validity was found to be high. In addition, the criterion related validity of various levels of consciousness (alert, drowsiness, stuporous, and comatose) with the FOUR Score, as compared to the GCS, in patients with neurological diseases were found as moderate to very good levels. The inter–rater reliability coefficients between neurosurgeons and nurses with more than 5 years working experiences and with 2-5 years working experiences were found as very good and good, respectively. When each component was analyzed, it found that in the FOUR Score, the inter–rater reliability coefficient of the movement component was lowest, while in the GCS that of the speech component was lowest. In conclusion, the FOUR Score was regarded as a valid and reliable assessment tool of level of consciousness. However, nurses with less working experiences need training before using this assessment.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการรับรู้สติกลาสโกว์โคมาสเกลโฟร์สกอร์ความเที่ยงความตรงLevel of consciousnessGlasgow Coma ScaleFOUR ScoreValidityReliabilityการศึกษาความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือวัดการรับรู้สติของผู้ป่วยระบบประสาทและสมอง (โฟร์สกอร์) โดยพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตThe Study of Validity and Reliability of the Full Outline of Unresponsiveness (FOUR) Score in Critical Care NursesArticleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล