Parkorn SuwanichRaywadee RoachanakananSaranya SucharitakulTunyaporn Sated2024-01-112024-01-11201720242017Thesis (M.Sc. (Environmental Management and Technology))--Mahidol University, 2017https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92371Environmental Management and Technology (Mahidol University 2017)The objective of this research was to assess the amount of Carbon Footprint, Greenhouse Gas (GHG) emissions and measurement of decreasing Carbon Footprint in the Orthopaedic Department, Queen Sirikit National Institute of Child Health. The research was conducted based on the direct and indirect activities that were divided into 3 areas, i.e., Area 1 (1.1) Fuel consumption per patient for meetings, trainings, business trip (1.2) Chemical usage in surgery operation (1.3) Water Supply Usage Area 2 Electrical Usage and Area 3 (3.1) Fuel in daily transportation (3.2) Waste analysis: including general waste, hazardous waste, infectious waste and recyclable waste. The results revealed in fiscal year 2013-2015, Orthopaedic Department released Carbon Footprint averagely per year as following details. Area 1, 2 and 3 emitted Carbon Footprint 11.98, 16.32 and 15.76 tonnes of carbon dioxide equivalent, respectively. The electric consumption in Area 2 has the highest Carbon Footprint emission 37.04 percent then followed by Area 3 and Area 1 35.77, 29.19 percents respectively. Therefore, Carbon Footprint can be reduced by all employees who already implemented continuously as Queen Sirikit National Institute of Child Health policies in order to reduce usage of energy and resources.การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก และค้นหาวิธีลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการให้บริการกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมของกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 3 ขอบเขต ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดย ขอบเขตที่ 1 คือ (1.1) สำรวจการใช้เชื้อเพลิงในการรับส่งต่อผู้ป่วย การประชุม อบรม ดูงาน (1.2) รวบรวมข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยของกลุ่มงาน (1.3) เก็บข้อมูลจำ นวนผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งข้อมูลการใช้น้ำประปาของสถาบันฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การใช้น้ำประปาของกลุ่มงาน ขอบเขตที่ 2 สำรวจข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของหน่วยงาน และขอบเขตที่ 3 คือ (3.1) สารวจการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางไปกลับเพื่อมาปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ (3.2) รวบรวมปริมาณมูลฝอยทั่วไป อันตราย ติดเชื้อ รีไซเคิล ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการให้บริการของกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อในปีงบประมาณ 2556-2558 มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ยต่อปี ดังนี้ ขอบเขตที่ 1 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำนวน 11.98 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขอบเขตที่ 2 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำนวน 16.32 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และขอบเขตที่ 3 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำนวน 15.76 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การใช้ไฟฟ้าในขอบเขตที่ 2 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากที่สุดถึงร้อยละ 37.04 รองลงมาเป็นขอบเขตที่ 3 และ ขอบเขตที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 35.77 และร้อยละ 27.19 ตามลำดับ สำหรับแนวทางในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ บุคลากรของกลุ่มงานได้ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องตามที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้กำหนดเป็นนโยบายเพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรx, 71 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าAtmospheric carbon dioxideGreenhouse gas mitigation -- ThailandAssessment of carbon footprint in the Orthopaedic Department, Queen Sirikit National Institute of Child Healthการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการให้บริการของกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีMaster ThesisMahidol University