ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์ชุติมา แสงเงินวนิพพล มหาอาชาธมกร ศิริธร2024-01-092024-01-09256225622567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92022สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร และค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการลดขยะอาหารในครัวเรือน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามจานวน 399 ชุด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนในระดับน้อย และหากพิจารณาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการลดขยะอาหารในแต่ละขั้นตอนอยู่ในระดับน้อย คือ 1. การทาอาหาร 2. การบริโภค 3. การแปรรูปอาหาร 4. การรีไซเคิลขยะอาหาร และมีพฤติกรรมการลดขยะอาหารในแต่ละขั้นตอนอยู่ในระดับปานกลาง คือ 1. การวางแผนก่อนซื้อ 2. การซื้ออาหาร 3. การเก็บรักษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือน คือ อายุ ระดับการศึกษา จานวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน สถานภาพในครัวเรือน ทัศนคติการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารถึงวิธีการลดขยะอาหารในครัวเรือน ควรจัดให้มีพื้นที่พักขยะอาหารเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ส่วนกลางของแต่ละชุมชนและควรมีการติดตามการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากขยะอาหารเหลือทิ้งภายในครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลกระทบ และนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการขยะอาหารในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นThe purposes of this research were to study the integrated food waste reduction behaviours in household in Nonthaburi municipality, Nonthaburi province and to explore factors affecting it. The participants comprised of 399 housewives involved with household waste reduction aged 18 years and older, living in Nonthaburi Municipal Area. Data was collected using questionnaires. The finding revealed that the level of food waste reduction behaviors of participants was indicated at the less level. For food waste reduction behavior in each stage, the behaviors in 4 stages consisting of 1) cooking 2) consuming 3) processing and 4) recycling food waste were indicated at low level. In addition, behavior in 3 stages namely 1) planning before purchasing 2) purchasing and 3) storing foods were at moderate level. The factors that had a positive relationship to food waste reduction behaviors at the statistically significant levels of 0.05 were age, educational background, number of household members, average household monthly income, roles in household and attitude in factors influencing integrated food waste reduction behaviours in household, whereas educational background and residential duration related negatively with household food waste reduction behaviours at the statistically significant level of 0.05. The research recommends that the information about food waste reduction in households should be promoted; The space for waste storage should be provided in each community; the activities should be monitored continually, including educating people on the impacts of excess food waste in households. This will lead to realizing and changing the food waste reduction behaviours in households more effectivelyก-ญ, 144 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการกำจัดขยะ -- ไทย -- นนทบุรีขยะและการกำจัดขยะ -- ไทย -- นนทบุรีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร: กรณีศีกษา เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีFactors influencing integrated food waste reduction behaviors in households : A case study of Nonthaburi municipality, Nonthaburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล