พชร สุวรรณภาชน์นิยะนันท์ สำเภาเงินวรารัตน์ สีชมนิ่ม2024-01-092024-01-09256225622567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92032วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรม เป็นแนวคิดที่อธิบายแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ประกอบการซึ่งเชื่อมระหว่างแนวคิดทางวัฒนธรรมและการประกอบการ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งคุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ งานวิจัยนี้บูรณาการแนวคิดมานุษยวิทยาดนตรีและความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างสรรค์ซอไทยของช่างธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล ด้วยวิธีการศึกษาเฉพาะกรณี โดยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยหลากหลายวิธี เพื่ออธิบายแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของช่างธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 14 คน ได้แก่ ช่างธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล เครือข่ายช่าง ลูกค้า และนักดนตรีไทย ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมของ ช่างธีรพันธุ์ ธรรมานุกูลเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลอันเกิดจากชุดความคิดของการประกอบการช่างทำเครื่องดนตรีบนฐานวัฒนธรรมดนตรีไทย ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งผลต่อการพัฒนา "กระสวนซอไทย" ที่ยังคงรักษา "สัดส่วน" และ "เสียงนาสิก" ซึ่งเป็นคุณค่าภายในของซอไทย สร้างสรรค์ "แบบ" เพื่อเพิ่มมูลค่าและตอบสนองความต้องการใหม่ของลูกค้า นักดนตรี เครือข่ายช่าง และผู้เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างคุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของกระบวนการสร้างสรรค์ซอไทยCultural entrepreneurship is a concept for describing the idea and behavior of entrepreneurs that connect between cultural and entrepreneurial concepts. To achieve a balance of both cultural values and economic value-added, this research integrates the concept of ethnomusicology and cultural entrepreneurship. The purpose is to study the characteristics of cultural entrepreneurship that affect the Thai fiddles creation of Teerapan Thammanukul by case study approach. A case study was employed applying a multi-method for explaining concepts, attitudes, and behaviors of Teerapan Thammanukul and Thai fiddles creation. The primary data were collected using in-depth interviews with 14 key informants comprising Teerapan Thammanukul, networking technicians, customers and musicians. The results of this research indicate that the cultural entrepreneurship of Teerapan Thammanukul is a personal characteristic of mindset for musical instrument entrepreneurs based on Thai music culture in the creative economy context. This affects the development of "Thai fiddles pattern" to still maintain the "authentic proportion" and "Thai musical sound", which is the internal value of Thai fiddles, and develop "creative form" to add value and respond to the new requirement of customers, musicians, networking technicians and related parties, resulting in a balance between the cultural value and economic value of the Thai fiddles creation.ก-ฎ, 214 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าซอผู้ประกอบการความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมในกระบวนการสร้างสรรค์ซอไทย : กรณีศึกษาช่างธีรพันธุ์ ธรรมานุกูลCultural entrepreneurship in Thai fiddles creation : a case study of Teerapan ThammanukulMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล