สุรชาติ ณ หนองคายปิยธิดา ตรีเดชดุสิต สุจิรารัตน์ศศิกัญชณา บูรณะเสน2024-01-132024-01-13255725672557วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92626บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสายโซ่ความสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และปัญหาอุปสรรค แนวทางการพัฒนาต่อยอด ประชากร คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่มีศักยภาพสูง (ระดับ A+) 3 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553-2555 จำนวน 7 กองทุนของจังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการสนทนากลุ่มตัวแทนคณะ กรรมการบริหารกองทุน จำนวน 42 คน การสัมภาษณ์ประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่ จำนวน 24 คน และการ ทบทวนเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า สายโซ่ความสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุน ตามหลัก SIPOC model ประกอบด้วยผู้สนับสนุนปัจจัยนำเข้า / ทรัพยากร(Supplier) หลายภาคส่วน คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยสนับสนุนปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ เงิน วัสดุอุปกรณ์ กำลังคน ข้อมูล วิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรม และอื่น ๆ เข้ามาในกระบวนการดำเนินงานกองทุน (Process) ซึ่งพบว่ามีการบริหาร จัดการกองทุน ตามแนวคิด 7's ประกอบด้วยโครงสร้างของกองทุน (Structure) กลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน กองทุน (Strategy) ระบบงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน (System) แบบการบริหารงานของประธานกองทุน (Style) บุคลากร คณะกรรมการบริหารกองทุน (Staff) ทักษะการบริหารของประธานกองทุน (Skills) ค่านิยมร่วม (Share Values) ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนยึดถือร่วมกัน ในด้านการมีส่วนร่วม พบว่าประชาชน ภาคีเครือข่ายใน พื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่าง ๆ ของกองทุน และมี การสร้างนวัตกรรม เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ส่งผล ให้เกิดผลผลิต/ผลงานกองทุน (Output) คือ โครงการ/กิจกรรม 4 หมวด และนวัตกรรมสุขภาพ โดยตัวแทนคณะ กรรมการบริหารกองทุนเห็นว่าผู้ใช้ผลผลิต (Customer) คือ ประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่ มีความพึงพอใจใน ผลผลิต/ผลงาน ปัญหาอุปสรรค ที่พบ คือ โครงการไม่เสร็จตามกำหนด ประชาชนยังเขียนโครงการไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจระเบียบกองทุน มีแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหา แนวทางในการพัฒนาต่อยอด คือ เสริมสร้างการมี ส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของร่วม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกองทุนอื่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การพัฒนาคณะกรรมการบริหารกองทุน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จThis study was qualitative research with the objective of studying the value chain of local health insurance funds, their constraints, and alternatives to upgrade their status. The study sample comprised 7 local health insurance funds which had high potentiality (A+) for 3 consecutive years, 2553 B.E - 2555 B.E, in Chainat Province. Data were collected by focus group discussion with 42 selected committee members of the funds, interviewing the local people who were the clients, and documentary review. The study found that the value chain of the operation of the fund in accord with SIPOC model consisted of the suppliers of input from many sections, which were the government, private sector, general public, and local network alliance. The input was composed of money, material, manpower, information, and participation with activities. The process was the administration of the fund according to 7S concepts which are Structure, Strategy, System, Style, Staff, Skills, and Share Values, which the committee commonly adhered to. The study found that the public and network alliance in the area had taken part in the operation of the fund. They also had created some innovations for monitoring the health of the public resulting in the production of output, which were 4 projects/activities and innovations for health. The representatives of the committee of the funds had the opinion that the customers were satisfied with the output of the fund. The constraints found were 1) the progress of the project was behind schedule, 2) the public were not able to organize projects properly, and 3) their understanding about the fund was not sufficient. The alternatives for upgrading the fund were 1) strengthening the participation of the community and concerned organization in order to create the sense of ownership and 2) let other funds operators learn the lesson from the studied funds. The recommendations from this research are that there should be 1) a strengthening of the competency of the committee members of the funds, 2) promotion to increase the participation of the public and alliance network in order to create more sense of ownership, and 3) creating more factors for successก-ฌ, 196 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าประกันสุขภาพ -- ไทย -- ชัยนาทสายโซ่ความสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ : กรณีศึกษาจังหวัดชัยนาทValue chain of the local health insurance fund : a case study of Chainat provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล