ธัญยรัชต์ องค์มีเกียรตินันทกานต์ มณีจักรรัตติกาล พรหมพาหกุลวรรณฤดี เชาว์อยชัยเปรมจิตร์ จวบความสุขThanyarat OngmekiatNantakarn ManeejakRuttikarn PrompahakulWanrudee ChaoayachaiPremjit Joubkhawmsukมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2022-03-292022-03-292565-03-292565วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2565), 128-143https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64414วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของพยาบาลจากการใช้รูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมในระยะก่อนและหลังการใช้รูปแบบ รูปแบบการวิจัย: ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 เป็นระยะทดลองใช้รูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนด้วยวิธีการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้พยาบาลวิชาชีพจากหอผู้ป่วยจักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา จำนวน 8 แห่ง ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จำนวน 40 คน ประกอบด้วยระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้าเวร และระดับปฏิบัติการ ระยะก่อนพัฒนารูปแบบ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้วยแบบประเมินและการอภิปรายกลุ่ม ระยะระหว่างพัฒนารูปแบบ ดำเนินการสนทนากลุ่ม ร่วมออกแบบและทดลองใช้การรับส่งเวรรูปแบบใหม่ ระยะหลังพัฒนา เป็นการประเมินผลการใช้รูปแบบการรับส่งเวรที่พัฒนาด้วยการตอบแบบประเมิน อภิปรายกลุ่ม และการสังเกตการณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ประสิทธิผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t-test และสถิติ Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัย: การพัฒนารูปแบบรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบดังนี้ 1) โครงสร้างข้อมูลและแบบบันทึกตรวจเช็คการรับส่งเวร 2) กระบวนการรับส่งเวร 3) การจัดการสภาพแวดล้อมระหว่างรับส่งเวร 4) การพัฒนาศักยภาพของผู้ส่งเวร ผลการรับรู้ของพยาบาลในด้านคุณภาพของข้อมูล และด้านปฏิสัมพันธ์และการสนับสนุนต่อกระบวนการรับส่งเวรก่อนและหลังการใช้รูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรับส่งเวรรูปแบบใหม่ช่วยลดผลิตภาพ และลดอุบัติการณ์ในการรับใหม่ จำหน่าย และส่งผู้ป่วยล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมช่วยลดผลิตภาพและลดการเกิดอุบัติการณ์หรือความล่าช้าทางคลินิกได้ ควรสนับสนุนให้มีการนำไปปรับใช้ในหอผู้ป่วยอื่นและนำไปบูรณาการในการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นผู้นำทีมพยาบาลPurpose: 1) To develop a participatory nursing handover model 2) To evaluate the nurses’ perception towards a participatory nursing handover model and 3) To compare the effectiveness of a participatory nursing handover model before and after the use of the model. Design: The study consisted of two phases: Phase I - the development of a participatory nursing handover model using participatory action research; Phase II - the implement of the participatory handover model. The evaluation of effectiveness of a participatory nursing handover model was also applied using quasi-experimental research with a one-group pretest-posttest design. Methods: Through purposive sampling 40 professional nurses consisting of head nurse, shift in-charge, and operational levels from eight otorhinolaryngology wards at a tertiary hospital were recruited. In pre-developing period, problems found during nurse shift handover were analyzed using evaluation form and group discussion. During model developing period, focus group and group work on model design as well as a try-out of the participatory nursing handover model were implemented. For post model development period, the use of model and its effectiveness were assessed via evaluation form, group discussion, and observation. Content analysis was used for qualitative data, the outcomes reflecting the model effectiveness were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and Wilcoxon signed ranks test. Main findings: A participatory nursing handover model consists of four components: 1) Data structure and checking log form 2) Nursing handover process 3) Management of the environment during shift transfer and 4) Competency development of nurses in giving handover. Perception of nurses in terms of data quality, and interaction and support to the handover process using a participatory nursing handover model was significantly different between pretest and posttest. The handover model could significantly reduce the productivity and the incidence of delayed admission, delayed discharge and transfer. Conclusion and recommendations: The participatory nursing handover model helps reduce the productivity and the delay of clinical incidence. Adaptation for use of this model in another wards and integration of this model in teaching and learning undergraduate nurse students to perform a role of team leader should be encouraged.thaมหาวิทยาลัยมหิดลรูปแบบการรับส่งเวรหอผู้ป่วยจักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยาการวิจัยแบบมีส่วนร่วมnursing handover modelotorhinolaryngological wardparticipatory action researchวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandการพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหอผู้ป่วยจักษุ โสต ลาริงซ์ และนาสิก ณ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งDevelopment of a Participatory Nursing Handover Model among Otorhinolaryngological Wards at a Tertiary HospitalResearch Articleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล