ยุทธพร นาคสุขโสภนา ศรีจำปาอิสระ ชูศรีอลิษา ม่วงสาร2024-01-022024-01-02256125612567https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91613ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อรรถลักษณ์ของคำลักษณนามในภาษาคำเมืองและภาษาพม่า และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบโลกทัศน์ของชาวล้านนาและชาวพม่าที่สะท้อนจาก การใช้คำลักษณนาม โดยใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์อรรถลักษณ์และแนวคิดเกี่ยวกับโลกทัศน์ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลคำลักษณนามจากผู้บอกภาษาผู้บอกภาษาคำเมืองถิ่นเชียงใหม่และผู้บอกภาษาพม่าถิ่นย่างกุ้ง จำนวนภาษาละ 5 คน โดยใช้รายการคำนามจำนวน 1,057 คำ ผลการศึกษาพบว่า ในภาษาคำเมืองมีคำลักษณนามจำนวน 67 คำ และมีอรรถลักษณ์ที่ปรากฏกับคำลักษณนามจำนวน 52 อรรถลักษณ์ และในภาษาพม่ามีคำลักษณนามจำนวนนับ 64 คำ และมีอรรถลักษณ์ที่ปรากฏกับคำลักษณนามจำนวน 48 อรรถลักษณ์ การใช้คำลักษณนามในภาษาคำเมืองและภาษาพม่าสามารถสะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของชาวล้านนาและชาวพม่าที่จำนวน 7 โลกทัศน์ ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับมนุษย์ โลกทัศน์เกี่ยวกับสัตว์ โลกทัศน์เกี่ยวกับอมนุษย์ โลกทัศน์เกี่ยวกับพืช โลกทัศน์เกี่ยวกับอวัยวะของมนุษย์หรือสัตว์ โลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า และโลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งของThis research was conducted with the aims to analyze the semantic components of Kammuang and Burmese classifiers and to compare the worldviews of the speakers of both languages which are reflected through their selections of classifiers. The researcher interviewed 5 informants from each language and a list of 1,057 pictures representing nouns was prepared for data collection. The research results show that Kammuang has 67 classifiers which classify the semantic components in 52 features, and Burmese has 64 classifiers which classify the semantic components in 4 8 features. Moreover, it shows the worldview of speakers from both languages with the following seven categories: human, animals, supernatural beings, plants, body parts, honorific representation of the Buddha, and objects.ก-ฐ, 215 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าภาษาพม่า -- การเปรียบเทียบภาษาพม่า -- ไวยากรณ์ภาษาพม่า -- ลักษณนามภาษาไทยถิ่นเหนือการศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาคำเมืองและภาษาพม่าA comparative study of Kammuang and Burmese classifiersMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล