เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุลสุณีย์ กัลยะจิตรอุนิษา เลิศโตมรสกุลสุภาภรณ์ ลิมภัทรกุล2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93676อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการในสถานีขนส่งสาธารณะ จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าผู้ให้บริการในสถานีขนส่งสาธารณะ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความรู้มากที่สุดในเรื่องเขตปลอดบุหรี่ต้องไม่มีการสูบบุหรี่ร้อยละ 96.0 รองลงมา เรื่องห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาทร้อยละ 87.3 ส่วนข้อมูลที่ผู้ใช้บริการตอบถูกน้อยที่สุดคือ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ร้อยละ 54.5 รองลงมาสถานีขนส่งสาธารณะ เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมดร้อยละ 71.3 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วน บุคคล ในด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และในเรื่อง ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ ประสบการณ์เคยสูบบุหรี่ ประสบการณ์เคยพบเห็นบุคคลอื่นสูบบุหรี่ และความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 จากผลการวิจัยเสนอแนะ การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ควรมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากการสูบบุหรี่มือสอง โดยการใช้สื่อต่างๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ การติดโปสเตอร์ตามร้านอาหารหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ และควรเพิ่มโทษทางกฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความเคร่งครัดจริงจังก-ฌ, 147 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535การสูบบุหรี่การบังคับใช้กฎหมายผลการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535Effect of law enforcement of non-smokers health protection follow et by non-smokers health protection, act B.E. 2535 (1992)Master Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล