พิมพา ขจรธรรมวิไล กุศลวิศิษฏ์กุลธนาวีร์ มงคลกุลพัฒน์2024-01-052024-01-05256125612567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91867วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น การปรับตัวต่อความพิการทางการเห็น และสัมพันธภาพในครอบครัวกับภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนรางที่เป็นสมาชิกของสมาคมคนสายตาเลือนรางประเทศไทย อายุ 21-60 ปี และมีบัตรประจาตัวคนพิการประเภทสายตาเลือนรางจำนวน 119 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power 3.1.9.2 และใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ ที่มีภาวะสายตาเลือนราง จำนวน 92 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงค่าจำนวน ร้อยละ มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นเชิงเดียว ผลการศึกษา พบว่า สมรรถภาพคนพิการทางการเห็นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (r = 0.383, p-value = 0.001) ส่วนการปรับตัวและสัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = −0.403, −0.358, p-value = 0.001) ตามลำดับ เมื่อใช้สมการถดถอยเชิงเส้นเชิงเดียวสร้างสมการทำนายภาวะซึมเศร้าได้ดังนี้ log(ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนราง) = 1.559 − 0.018 (การปรับตัวต่อความพิการทางการเห็น) − 0.008 (สัมพันธภาพในครอบครัว) + 0.004 (สมรรถภาพคนพิการทางการเห็น) ตามลาดับ และมีสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 28.3 จากผลการศึกษาสามารถเป็นแนวทางสำหรับนักให้คำปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้เพื่อวางแผนการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมคนพิการทางการเห็นให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติในสังคมThis is a survey study aimed to study the relationship between depression and functional ability of adults with low vision, adaptation to low vision, and relationship among the family of adults with low vision and depression. The sample size was 119 adults with low vision who were members of The Low Vision Association Thailand, aged between 21?60 years old, whose ID card was identified as a person with disability: low vision. This study used G*power version 3.1.9.2 to calculate the sample size and used systematic random sampling, collected through telephone interviews by using the questionnaire about factors related with depression in adults with low vision, which has 92 items. Percentage, median, quartile, Pearson product moment correlation coefficient and Linear Multiple Regression were used in analyzing the data. The results of the study significantly showed that functional ability of adults with low vision was positively related to depression at 0.01 (r = 0.383, p-value = 0.001). Adaptation to low vision disability was significantly negatively related to relationship among the family of adults with low vision at 0.01 (r = ?0.403, ?0.358, p-value = 0.001). Linear Multiple Regression predicted depression in adults with low vision as log (depression in low vision of adult) = 1.559 ? 0.018 (adaptation to visual disability) ? 0.008(relationship among the family of adult with low vision) + 0.004 (functional ability of adults with low vision) with predictive coefficient at 28.3 percent. The results of the study could be a pathway to plan services for people with disabilities, including counseling and related work engaging people with low vision disability. Moreover, this study could help the visually impaired people to live a normal life in the society.ก-ฏ, 193 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความซึมเศร้าคนพิการทางการเห็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนรางปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ที่มีภาวะสายตาเลือนรางFactors related to depression in adults with low visionMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล