บุษบา สงวนประสิทธิ์กานต์ธิดา ตันวัฒนถาวร2024-01-172024-01-17255025672550วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93098สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา ซึ่งประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถของตนเอง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนประถมศึกษา ที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจำนวน 27 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 32 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 และ 6 ที่มีน้ำหนักเกิน การจัดกิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายประกอบภาพพลิก การประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเอง การอภิปรายกลุ่ม การเล่นเกมส์ การฝึกประกอบอาหาร และการจัดนิทรรศการ ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 5 สัปดาห์ ประเมินการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูล 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มโดยใช้ สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทำกิจกรรมกลุ่มทดลองมีความรู้ในเรื่องโภชนาการและโรคอ้วนเพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)และระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นนี้ยังคงอยู่ในระยะติดตามผล แต่โปรแกรมไม่สามารถทำให้กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงต่อภาวะแทรกซ้อนของภาวะอ้วน การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก การรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมอาหารและพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าระดับการรับรู้จะเพิ่มขึ้นหลังการดำเนินกิจกรรมก็ตามในทางตรงกันข้ามการรับรู้อุปสรรคของการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แต่ลดลงในระยะติดตามผล และไม่มีความแตกต่างจากก่อนการทดลอง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีความรู้ด้านโภชนาการและโรคอ้วนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงต่อภาวะแทรกซ้อนของภาวะอ้วน การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมอาหารของกลุ่มเปรียบเทียบเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังการทดลองแต่ในระยะติดตามผลการรับรู้ดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ยกเว้นการรับรู้อุปสรรคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ถึงแม้ว่าหลังการทดลองกลุ่มเปรียบเทียบมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แต่พฤติกรรมนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในระยะติดตามผลเช่นกัน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ รัฐควรมีนโยบายให้โรงเรียนมีการส่งเสริมการรับประทานอาหารสุขภาพอย่างจริงจัง โดยให้ ครู ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และมีการบูรณาการความรู้ในเรื่องอาหารในหลักสูตรการเรียนการสอนรวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพThis quasi-experimental research aimed to assess the effectiveness of a health education program which applied the Health Belief Model and Self-efficacy Theory modifying dietary behaviors of overweight primary school students under the Office of Fundamental Education Commission, Bangkok Metropolitan Administration. Two schools were selected using simple random sampling method as an experimental and a control were comparison group. The experimental and comparison groups composed of 27 and 32 fifth and sixth graders who were overweight in the respective schools. The activities organized were lectures with the use of flipcharts, self-nutritional status assessment, group discussions, games, and food preparation practices. The activities lasted for 5 weeks. The behavioral changes were evaluated, before the experimentation, after the experimentation and 4 weeks after the experimentation, using questionnaires. The data were analyzed using paired t-test and independent t-test to compare mean differences within and between the groups. The study showed that at the end of the activities the experimental group was found to have gained significantly more knowledge regarding nutrition and complications related to obesity than before the program and than the comparison group (p<.05). This significantly higher level of knowledge was also found during the follow-up period. Nevertheless the program was not effective in significantly raising the levels of perceived susceptibility to and perceived severity of the complications of obesity, perceived benefits of dietary control, perceived self-efficacy in dietary control and dietary behaviors among the experimental group even though the knowledge had been significantly increased. In contrast, significant increase in perceived barriers of dietary control of the experimental group was found after the experiment (p<.05), but it decreased during the follow-up period making the mean difference between before and the follow up period non-significant. For the comparison group, their knowledge about nutrition and complications related to obesity significantly reduced after the experiment and during the follow-up period (p<.05). However their perceived susceptibility and severity of obesity's complications, perceived benefit and perceived barriers of dietary control, and perceived self-efficacy in dietary control slightly increased but not statistically significantly after the experiment.These perceptions significantly decreased during the follow-up period, except for the perceived barrier which significantly increased (p<.05). Although after the experiment the dietary behavior of the comparison group was found have significantly improved (p<.05), this behavior decreased significantly during the follow-up period (p<.05). Results from this study suggest that school policy should be established to promote healthy dietary behaviors by involving school teachers, food handlers and students' guardians in this program. Knowledge about healthy diets should also be integrated in to the school curriculum.ก-ฎ, 206 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเด็ก -- โภชนาการบริโภคนิสัยประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกินEffectiveness of health education program in modifying eating behavior of students who are overweightMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล