ชุติมา จิรัฐเกรียงไกรนพพร ว่องสิริมาศวารีรัตน์ ถาน้อยสุภาภัค เภตราสุวรรณChutima JirathikrengkraiNopporn VongsirimasWareerat ThanoiSupapak Phetrasuwanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์2021-04-202021-04-202564-04-202564วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2564), 77-89https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61986วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้สถานการณ์ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด (การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์) ในการทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนรัฐบาล ประเภทสหศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 490 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสุขภาวะทางจิตใจ แบบประเมินความรู้สึกเครียด แบบประเมินความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต แบบประเมินการรับรู้สนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้สถานการณ์ความเครียด ความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด (การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และการจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์) สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตใจได้ร้อยละ 63 (R2 = .63) สรุปและข้อเสนอแนะ: ปัจจัยทำนายทุกตัวสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจให้วัยรุ่นตอนปลายมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี โดยการจัดกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมทักษะการจัดการความเครียดที่เหมาะสม รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมให้กับวัยรุ่นPurpose: This research aims to study the predictive power of perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) on psychological well-being in late adolescents. Design: Predictive study. Methods: Participants were 490 students with 10th to 12th grades in government schools in Bangkok. The instruments used in data collection consisted of personal information form, Ryff’s Psychological Well-Being Scale, Perceived Stress Scale, Connor-Davidson Resilience Scale, Multidimensional Scale of perceived social support, and the Brief COPE inventory. Data were analyzed by multiple linear regression. Main findings: The study results showed that perceived stress, resilience, social support, and coping strategies (problem-focused coping and emotional-focused coping) could predict psychological well-being in late adolescents with statistical significance and all factors could account for 63% of the variance explained in psychological well-being (R2 = .63). Conclusion and recommendations: All study factors were statistically significant predictors of psychological well-being in late adolescents. The study results can be used as the basis for activities to promote mental well-being in late adolescents through promoting the stress management skill and activities that help increase social support awareness.thaมหาวิทยาลัยมหิดลกลยุทธ์ในการจัดการความเครียดความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของชีวิตการสนับสนุนทางสังคมความเครียดcopingresiliencesocial supportstressวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลายFactor in Predicting Psychological Well-being in Late AdolescentsResearch Articleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล