ทิพยวรรณ เลิศวิลัยณัฐกมล ชาญสาธิตพรณัฐนารี เอมยงค์ดำรัส ตรีสุโกศลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.2015-10-192021-09-152015-10-192021-09-152558-10-122558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63563การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 42.ภูมิหลัง: ขดลวดค้ำยันเคลือบยา Biolimus A9 (Biolimus A9-Eluting Stent: BES) และ ยา Sirolimus (Sirolimus-Eluting Stent: SES) อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการรักษาหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ผ่านสายสวนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการรักษาทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดเลี้ยง หัวใจผ่านสายสวน ด้วยขดลวดค้ำยันชนิด BES และ SES วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจด้วยขดลวดค้ำยันชนิด BES หรือ SES ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2551 ณ โรงพยาบาลศิริราช ปลายทางหลักของการศึกษา (ผลลัพธ์ทางคลินิก) คืออุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การเสียชีวิตทุกสาเหตุ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และการกลับมา ขยายหลอดเลือดซ้ำ ใช้วิธีการวิเคราะห์ Kaplan–Meier และ Log–rank test ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 486 คนที่เข้าเกณฑ์การศึกษา อายุเฉลี่ย 63.8 + 1.1 ปี และเป็นเพศชาย 353 คน (72.6%) ลักษณะของผู้ป่วย และประวัติโรคของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาการติดตาม 9 ปี ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยขดลวดค้ำยัน BES มีอัตราการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยขดลวดค้ำยัน SES (BES 51.5% กับ SES 30.9%) อัตราการเสียชีวิตทุกสาเหตุ (21.6% กับ 15.5%) อัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (17.8% กับ 8.3%) และอัตราการกลับมาขยายหลอดเลือดซ้ำ (12.0% กับ 7.2%) ค่ามัธยฐานการปลอดเหตุการณ์อุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่ม BES เท่ากับ 79.8 เดือน ในกลุ่ม SES มากกว่า 108 เดือน ทุกผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่รักษาด้วยขดลวด ค้ำยัน SES มีอัตราการปลอดเหตุการณ์ สูงกว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยขดลวดค้ำยัน BES อย่างไรก็ตาม มีเพียงอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ (p=0.007) และการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (p=0.003) ที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วย 2 กลุ่มนี้ สรุปผลการศึกษา: การรักษาหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจผ่านสายสวน ด้วยขดลวดค้ำยัน SESให้ ผลลัพธ์ทางคลินิกในระยะยาวดีกว่าขดลวดค้ำยัน BESthaมหาวิทยาลัยมหิดลการรักษาหลอดเลือดขดลวดค้ำยันขดลวดค้ำยันเคลือบยา Biolimus A9ขดลวดค้ำยันเคลือบยา Sirolimusการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ระหว่างขดลวดค้ำยันชนิดเคลือบยา BIOLIMUS A9 และ ยา SIROLIMUS ภายหลังได้รับการรักษาหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจผ่านสายสวนProceeding Poster