อภิศฎา แก้วมีศรีจารุวรรณ ธาดาเดชปิยะธิดา ขจรชัยกุลปรารถณา สถิตย์วิภาวีขวัญเมือง แก้วดำเกิงAphisada KaewmeesriCharuwan TadadejPiyatida KhajornchaikulPratana SatitvipaweeKwanmuang Kaeodumkoengมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์2021-05-182021-05-182564-05-182556วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2556), 13-251905-1387https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62209การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสุขและหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฎิบัติงานประจะหน่วยบริการปฐมภูมิ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินระดับความสุขในการทำงานเป็นแบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจากเครื่องมือ "Happinometer" วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุข ได้แก่ รายได้ของครอบคัว (Adj OR = 2.43, 95% CI: 1.14-5.17) ความสำคัญของงาน (Adj OR = 2.16, 95% CI: 1.10-4.24) และสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (Adj OR = 3.27, 95% CI: 1.57-6.83) ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขควรสนับสนุนสวัสดิการและสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานบริการปฐมภูมิให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าหน้าที่และกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของงานสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีความสุขในการทำงาน อันจะส่งผลต่อการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนThis cross- sectional survey research aimed to assess the level of job happiness and study the factors in฿uencing the job happiness of primary care personnel in Samutprakarn province. The sample was 315 primary care personnel at the primary care level of the Samutprakarn Provincial Public Health Office, Ministry of Public Health. Tools used to assess the level of job happiness was adapted from "Happinometer".The data was analyzed by using Chi-square test and multiple logistic regressions. The results showed that the overall level of job happiness of primary care personnel in Samutprakarn province was rather high, and the factors in฿uencing the job happiness were family income (Adj OR = 2.43, 95% CI: 1.14-5.17), job significance (Adj OR = 2.16, 95% CI: 1.10-4.24) and work environment (Adj OR = 3.27, 95% CI: 1.57-6.83). Therefore, the Ministry of Public Health should support welfare and work environment with the needs of officers, and should encourage the officers to realize the significance of primary care so that the officers are able to work smoothly resulting in the provision of quality services to the public.thaมหาวิทยาลัยมหิดลเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิความสุขในการทำงานคุณลักษณะงานสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานprimary care personneljob happinessjob characteristicswork environmentความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการJob Happiness of Primary Care Personnel in Samutprakarn ProvinceOriginal Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล