Suwannee JarungjitareeRoongtiwa VachalathitiBenjamas ChuaychooChanika SritaraSaowanee Woravutrangkul2023-09-052023-09-05200920092023Thesis (Ph.D. (Physical Therapy))--Mahidol University, 2009https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89335การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปาก ร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง และเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเองต่อการระบายเสมหะใน ทางเดินหายใจของคนสุขภาพดี และศึกษาประสิทธิภาพของเทคนิคทั้งสองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังในการศึกษาที่ 1 ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นชายสุขภาพดี 3 คน ได้รับการตรวจวัดเทคนิคละออง สารเภสัชรังสีต่อการเคลื่อนของเสมหะในทางเดินหายใจภายในเวลา 70 นาที ตลอด 3 วันศึกษาด้วย เทคนิคการรักษาที่ต่างกัน ผลพบว่าทั้งสองเทคนิคมีประสิทธิผลใกล้เคียงกันแต่ดีกว่าการหายใจปกติ ในการศึกษาควบคุม โดยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรงมีการ เคลื่อนระบายเสมหะในทางเดินหายใจส่วนต้นได้ดีกว่าเล็กน้อย ส่วนทางเดินหายใจส่วนกลางและ ทางเดินหายใจส่วนปลายนั้น ทั้งสองเทคนิคจะได้ผลดีชัดเจนเมื่อเทียบกับการหายใจปกติ ดังนั้นการ ระบายเสมหะในปอดปกติโดยรวมจะเกิดขึ้นได้ดีด้วยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการ หายใจออกอย่างแรงและเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเอง การศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับรุนแรงน้อย-ปานกลาง จำนวน 22 ราย เข้า ร่วมการศึกษาและได้รับการตรวจประเมิน ประกอบด้วย 1) การวัดค่าสมรรถภาพปอด, 2) แบบสอบ ถามการประเมินอาการด้วยตนเอง, 3) ใบบันทึกประจำวันด้วยตนเองเกี่ยวกับค่าอัตราการไหลสูงสุด ของอากาศขณะหายใจออก, ปริมาณเสมหะ, ค่าคะแนนความรู้สึกเหนื่อยด้วยบอร์ก และ4) แบบสอบ ถามความพอใจต่อเทคนิครักษาของผู้ป่วย ผู้ป่วยถูกสุ่มคัดเลือกเข้ากลุ่มศึกษา คือ กลุ่มที่ได้รับการ รักษาด้วยเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง (กลุ่ม 1) และกลุ่มที่ ได้รับการรักษาด้วยเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเอง (กลุ่มที่ 2) ตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรการศึกษาต่างๆ ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในช่วงเวลาศึกษา ส่วน ภายในกลุ่ม 1 ค่าเฉลี่ยรวมของอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกสูงขึ้นและปริมาณ เสมหะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสัปดาห์แรกและสอง ในกลุ่มที่ 2 พบว่า ค่าความเร็ว ลมหายใจออกสูงสุดของสมรรถภาพปอดมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 14 เทียบกับเมื่อแรกเข้า นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนแบบสอบถามการประเมินอาการด้วยตนเองลดลง นั่นคือ อาการ โดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นในวันที่ 14 เทียบกับวันแรกของการศึกษา การศึกษานี้ ชี้ให้เห็นถึงผลของ ทั้งสองเทคนิคต่อเพิ่มการระบายเสมหะและสมรรถภาพปอดดีขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและ ทั้งสองเทคนิคมีประสิทธิภาพดีพอกันxix, 231 leaves : ill.application/pdfengBreathing ExercisesLung DiseasesLungs -- Diseases, ObstructiveEffects of pursed lips breathing with forced expiration techniques and active cycle of breathing technique on airway clearance in chronic obstructive pulmonary disease patientsผลของเทคนิคการหายใจแบบห่อริมฝีปากร่วมกับการหายใจออกอย่างแรง และเทคนิคการหายใจแบบวงจรด้วยตนเองต่อการขจัดเสมหะของทางเดินหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังMahidol University