ขวัญหทัย ช้างใหญ่Khwanhathai Changyaiผ่องศรี ศรีมรกตPongsri Srimoragotสุพร ดนัยดุษฎีกุลSuporn Danaidutsadeekulวิรุณ บุณนุชWiroon Boonnuchมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2018-07-172018-07-172561-07-172559วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 31 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2556), 27-37https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/19945วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความปวด อาการอ่อนล้า ภาวะซึมเศร้า กับคุณภาพการฟื้นตัวของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก รูปแบบการวิจัย:การศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยาย วิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อรับการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักภายใต้การได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2556 จํานวน 85 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษา แบบประเมินระดับความปวด แบบประเมินอาการอ่อนล้า แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: อาการอ่อนล้าและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับคุณภาพการฟื้นตัวของผู้ป่วย ภายหลังการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักในระดับปานกลาง และในระดับต่ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - .592, r = - .377, p < .01) ตามลําดับ ส่วนความปวดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการฟื้นตัวของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด (r = - .057, p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม ด้วยการจัดการกับอาการอ่อนล้าและภาวะซึมเศร้า เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวที่มีคุณภาพในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักPurpose: To determine the relationship between pain, fatigue, depression and quality of recoveryin patients undergoing colorectal cancer surgery.Design: A descriptive correlational design.Methods: The study sample consisted of 85 patients undergoing elective open abdominalcolorectal cancer surgery aged 18 years and older who received general analgesia during the surgery andwho were admitted into the surgical wards at three tertiary hospitals in Bangkok, namely SirirajHospital, Ramathibodi Hospital, and Bhumibol Adulyadej Hospital. Data were collected between Apriland August, 2013. The instruments used in data collection included the Demographic CharacteristicsQuestionnaire and the Illness and Treatment Questionnaire, the numeric pain scale, the ModifiedFatigue Symptom Checklist, the Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale, and the Quality of Recovery Questionnaire. Data were analyzed by means of descriptive statistics and Pearson’s product-moment correlation coefficient.Main findings: The study findings revealed that fatigue and depression were negatively related to quality of recovery in patients undergoing colorectal cancer surgery at moderate and low levels withstatistical significance (r = - .592, r = - .377, p < .01), respectively. However, there was no relationshipbetween pain and quality of recovery in patients undergoing colorectal cancer surgery (r = - .057,p > .05).Conclusion and recommendations: Nurses should cooperatively work to develop the guidelinefor holistic nursing practice by utilizing management of fatigue and depression to promote quality of recovery in patients receiving colorectal cancer surgerythaมหาวิทยาลัยมหิดลความปวดภาวะซึมเศร้าคุณภาพการฟื้นตัวอาการอ่อนล้าการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักวารสารพยาบาลศาสตร์The Journal of Nursing ScienceOpen Access articleความสัมพันธ์ระหว่างความปวด อาการอ่อนล้า ภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพการฟื้นตัวของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักThe Relationship between Pain, Fatigue, Depression and Quality of Recovery in Patients undergoing Colorectal Cancer SurgeryArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล