Orawan Jareonpolภัคจุฑานันท์ สมมุ่งศศิธร สกุลกิมเนตรดาว จิตโสภากุลจุฑารัตน์ พิมสารอรวรรณ เจริญผลPakjutanan SommungSasithorn SakulkimNetdao JitsophakulChutharat Phimsanมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์2020-11-302020-11-302563-11-302562วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2562), 43-54https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60267การออกกำลังกายมีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มที่ส่วนใหญ่ มีสมรรถภาพทางกายต่ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี จำนวน 54 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้าน ที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยมีการจัดกิจกรรมการทดลองทั้งหมด 4 ครั้ง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรมการออกกำลังกายและแบบบันทึกผลสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Chi-Square test, Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการออก กำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้น โปรแกรมประยุกต์นี้จึงสามารถนำไปใช้กับผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนได้The Exercise is important for the elderly, especially those who are at risk of falling, mainly due to low physical fitness. This quasi-experimental research was to assess the effect of a Home Exercise program on exercise behavior and physical fitness among elderly in Khunpadpeng Sub-District Municipality, Suphanburi Province. The sample consisted of 54 elderly people between the ages of 60–79 years old. The sample were assigned equally into the experimental and the comparison group. The experimental group received the Home Exercise program by applying the self-efficacy theory over a period of 12 weeks. The comparison group received regular health education services from a subdistrict health promotion hospital. A structured interview, behavioral exercise and physical fitness record form were used to collect data. The data were analyzed by descriptive statistics, Chi - square test, independent t-test and paired t-test. The results revealed that after the experiment, the experimental group had significantly higher perceived self-efficacy, performed better exercise behavior and physical fitness than before the experiment and those of the comparison group (p<0.001). It could therefore be applied with elderly in the community health care setting.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการรับรู้ความสามารถตนเองพฤติกรรมการออกกำลังกายสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุSelf-EfficacyExercise BehaviorPhysical fitnessElderlyJournal of Health Educationผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง จังหวัดสุพรรณบุรีEffects of Home Exercise on Exercise Behavior and Physical Fitness among Elderly in Khunpadpeng Sub-District Municipality, Suphanburi ProvinceResearch Articleวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล