พรีมพัชริสา โควานิชเจริญณัฐธิตา กำแพงเศรษฐวชิราภรณ์ หิตยะโสมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี2021-08-262021-08-262564-08-262561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63222ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 198ทารกที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่รุกล้ำ (Non-invasive Ventilator Support) จะต้องสวมใส่วัสดุคลุมศีรษะ (Headgear) ต่อกับ Nasal mask set ให้แนบพอดีกับจมูกทารก เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และภาวะหยุดหายใจ ปัจจุบัน Headgear ที่นำเข้ามาในไทยนั้นราคาแพง มีความบาง ยืดหยุ่นสูง จึงเลื่อนหลุดได้ง่าย ทำให้สายเครื่องช่วย หายใจที่ยึดกับ Headgear บริเวณศีรษะทารกถูกดึงรั้งขึ้น Nasal mask ไม่แนบ มีลมรั่ว ต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งและขนาดของ Headgear บ่อยเพื่อให้กระชับ นอกจากเกิดความสิ้นเปลืองแล้ว ยังก่อให้เกิดแผลกดทับบริเวณหน้าผาก สูญเสียชั้นผิวหนังรุนแรงถึงชั้นหนังแท้ ภายหลังการจำหน่ายทารกกลับบ้าน พบรายงานการเกิดแผลเป็นชนิดคีลอยด์ (Keloid) ในเด็กหลายรายที่มาตรวจติดตามที่หอผู้ป่วยนอกเด็ก ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของทารกและครอบครัว สะท้อนถึงคุณภาพการรักษาพยาบาล ทางทีมผู้ดูแลรักษาจึงร่วมคิดค้นนวัตกรรมเพื่อลดอุบัติการณ์ของแผลกดทับและแผลเป็นคีลอยด์บริเวณ หน้าผากทารก ด้วยการใช้ CPAP Helmet ตั้งแต่ปี2560-ปัจจุบัน ไม่พบอุบัติการณ์ของแผลกดทับและแผลเป็นคีลอยด์บริเวณหน้าผากทุกรายthaมหาวิทยาลัยมหิดลCPAP HelmetNICUNasal CPAPpressure injuryNon-invasive ventilator supportCPAP HelmetProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล