Kulapong JayanamaPiyanuch MaitreejornThanwarin TangsermwongPariya PhanachatPrapimporn Chattranukulchaiกุลพงษ์ ชัยนามปิยนุช ไมตรีจรธัญวรินทร์ ตั้งเสริมวงศ์ปริย พรรณเชษฐ์ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัยพัชรวีร์ ทันละกิจดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตรMahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Chakri Naruebodindra Medical InstituteMahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Division of Nutrition and DieteticsMahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Department of MedicineMinistry of Public Health. Pakphayun Hospital. Division of Nutrition2022-07-272022-07-272022-07-272019Ramathibodi Medical Journal. Vol. 42, No. 4 (October-December 2019), 12-210125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72270Background: The requirement of a hospital-made, blenderized diet, as a generally used and complete polymeric formula, is increasing beyond supply availability and accessibility. A ready-to-use blenderized diet with chicken and pumpkin in a retort pouch was developed from regular use formula by nutritionists and dietitians to solve these problems. However, its clinical outcomes should be evaluated. Objectives: To assess the efficacy and safety of a ready-to-use blenderized diet, and to examine the satisfaction of patients and caregivers. Methods: Thirty adult patients in Ramathibodi Hospital with absolute tube feeding were included in a pre-post treatment comparative study and fed with the study formula for 14 days. Body composition measurements, nutritional status, clinical parameters, and biochemical tests were collected at baseline and day 14 after feeding. Complications were monitored daily. Satisfaction was evaluated at day 14. Results: This study reported statistically significant improvements in nutritional status (P < .001), albumin (P = .003), prealbumin (P = .007), total lymphocytic count (P = .004), and phase angle (P = .02) after 14-day feeding. No major complications were reported. Satisfaction of product use was evaluated in the level of satisfied (27%) and very satisfied (73%). Conclusions: The present study revealed that a ready-to-use blenderized diet with chicken and pumpkin was efficacious in ameliorating nutritional status, nutrition-related blood tests, and phase angle without any major complications.บทนำ: ความต้องการอาหารปั่นครบสูตรที่ผลิตโดยโรงพยาบาลซึ่งเป็นอาหารครบสูตรและใช้กันทั่วไปกำลังเพิ่มขึ้นจนเกินความพร้อมและการเข้าถึงการให้บริการ อาหารปั่นผสมไก่และฟักทองในบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยแพทย์ด้านโภชนาการและนักกำหนดอาหารเพื่อแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกของอาหารนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอาหารปั่นพร้อมใช้ และความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบผลก่อนและหลังได้รับสารอาหารเป็นเวลา 14 วัน ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับสารอาหารทางสายยางเท่านั้น จำนวน 30 คน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย ภาวะทางโภชนาการ ตัวชี้วัดทางคลินิก และผลตรวจทางชีวเคมี เปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับสูตรอาหารเป็นเวลา 14 วัน ติดตามภาวะแทรกซ้อนทุกวัน และประเมินความพึงพอใจในวันที่ 14 ของการศึกษา ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 30 คน พบว่า หลังได้รับสูตรอาหารเป็นเวลา 14 วัน ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการ (P < .001) ระดับอัลบูมิน (P = .003) ระดับพรีอัลบูมิน (P = .007) จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (P = .004) และมุมเฟส (P = .02) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับน่าพอใจ (ร้อยละ 27) และระดับน่าพอใจมาก (ร้อยละ 73) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอาหารปั่นผสมไก่และฟักทองในบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้มีประสิทธิภาพทำให้ภาวะโภชนาการ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และมุมเฟสดีขึ้น โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญengMahidol UniversityBlenderized dietEnteral nutritionNutritional statusMalnutritionPhase angleอาหารปั่นการให้อาหารทางทางเดินอาหารภาวะโภชนาการภาวะทุพโภชนาการมุมเฟสThe Amelioration of Nutritional Status and Phase Angle, Safety, and Satisfaction in Tube-Fed Patients With Ready-to-Use Blenderized Diet With Chicken and Pumpkinการศึกษาการดีขึ้นของภาวะโภชนาการและมุมเฟส ความพึงพอใจ และความปลอดภัย ในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางสายยางด้วยอาหารปั่นพร้อมใช้ผสมไก่และฟักทองOriginal ArticleChakri Naruebodindra Medical Institute Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol UniversityDivision of Nutrition and Dietetics Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol UniversityDepartment of Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol UniversityDivision of Nutrition Pakphayun Hospital Ministry of Public Health