ซูไมยะ เด็งสาแมมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์สุปรียา ตันสกุลนิรัตน์ อิมามีSumaiyah DengsamaeManirat TherawiwatSupreya TansakulNirat Imameeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์2022-07-122022-07-122565-07-122558วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 45, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558), 18-272697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72103การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของผู้นำศาสนาอิสลาม จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 312 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบโดยเริ่มจากสุ่มอำเภอ ตามด้วยสุ่มมัสยิดที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สุ่มได้ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไค-สแควร์ และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลวิจัยพบว่าผู้นำศาสนาอิสลามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 33-86 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 48.7 และการศึกษาด้านศาสนาอยู่ในระดับซานาวียะห์ ร้อยละ 36.5 ผู้นำศาสนาอิสลามมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งอยู่ระหว่าง 1–40 ปี โดยเฉลี่ย 11.35 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลางร้อยละ 59.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในกลุ่มปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เรื่องโภชนาการกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ในการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ กลุ่มปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งจำหน่ายอาหารและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในชุมชน กลุ่มปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาล บุคคลในครอบครัวและเพื่อนผู้นำศาสนาอิสลามThis survey research aimed to study the promotion of nutritional behaviors by Islamic leaders in Yala Province. A randomized sample of 312 leaders was chosen by systematic sampling method, with districts selected first, followed by the selection of mosques from the selected districts. The instrument used was a questionnaire that had been quality checked in accordance with standard criteria. Data were represented/analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Chi-Square test, and Pearson’s Product Moment Correlation. Results showed that participating Islamic leaders were between 36-86 years of age, 48.7 percent finished elementary school, and as to religious education, 36.5 percent finished “sanaweya” level. They had held their religious positions for 1-40 years (averaging 11.35 years), and most of them earned their living as agriculturists. Fifty-nine percent of leaders had a moderate level in promoting nutritional behaviors. The factors that were found to be significant to such nutritional promotion (p<0.001) were: predisposing factors included knowledge about nutrition and health promotion, perceived significance of nutritional promotion, and attitudes toward nutritional promotion; enabling factors included access to food distribution sources and community nutritional promoting activities; and reinforcing factors included social support from government personnel, family members and other Islamic leaders.thaมหาวิทยาลัยมหิดลพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโภชนาการผู้นำศาสนาอิสลามhealth promotion behaviornutritionIslamic leadersพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของผู้นำศาสนาอิสลาม จังหวัดยะลาPromotion of Nutritional Behavior by Islamic Leaders, Yala ProvinceResearch Articleภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล