Pham Thi Ngaวัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์Wallada Chanruangvanichวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชWimolrat Puwarawuttipanitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์2019-06-252019-06-252019-06-252017Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.2), No. 4 ( October-December 2017), 74-81https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44153Purpose: To examine the relationships between age, co-morbidity, stroke severity, and functional status among patients with ischemic stroke. Design: Descriptive correlational design. Methods: The sample was 115 patients with ischemic stroke who were treated at the Thai Binh General Hospital, Vietnam. Data were collected from the patients’ hospital records and interviewed with 3 research instruments: 1) the National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS), 2) Co-morbidity index, and 3) the Modified Barthel Activities of Daily Living Index. Spearman’s rho was employed to test the relationship among studied variables. Main findings: The results supported the proposed hypothesis that age, co-morbidity, and stroke severity were negatively related to functional status after two weeks of treatment (rs = - .42, rs = - .35, rs = - .90, p < . 05, respectively). Conclusion and recommendations: Nurses should assess and manage patients’ stroke severity, and try to control their co-morbidities. Standard guidelines should be developed and implemented to promote the transition from stroke illness to an independent functional status.วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ โรคร่วม และความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง กับภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ จำนวน 115 คน ที่พักรักษาในโรงพยาบาลไทบิง เจนเนอรัล ประเทศเวียตนาม อายุตั้งแต่ 18 ปี และมีคะแนนการรู้คิดจากแบบวัด MMSE 23 คะแนน ขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติ และประเมินด้วยแบบวัด 3 ชุด ได้แก่ 1) ประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองด้วย the National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) 2) ประเมินโรคร่วมด้วย Co-morbidity index, และ 3) ประเมินภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบด้วย the Modified Barthel Activities of Daily Living Index วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Spearman’s rho ผลการวิจัย: พบว่าอายุ โรคร่วม และความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = - .42, rs = - .35, rs = - .90, p < . 05, ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินและจัดการกับปัญหาความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง พยายามควบคุมโรคร่วมให้สงบ และพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยงาน ตลอดจนใช้แนวปฏิบัตินั้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนผ่านจากภาวะความเจ็บป่วยสู่ภาวะการทำหน้าที่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพา นอกจากนั้นควรมีการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัตินี้engMahidol Universityageco-morbidityischemic strokefunctional statusstroke severityความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองอายุโรคร่วมโรคหลอดเลือดสมองตีบภาวะการทำหน้าที่Journal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์Factors Related to Functional Status among Patients with Ischemic Strokeปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล