ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน2022-09-292022-09-292565-09-292556รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2556), 87-880125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79724การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นภาวะที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน สาเหตุที่พบบ่อยของการบาดเจ็บที่ศีรษะในสหรัฐอเมริกา ที่พบบ่อยสุดคือ การพลัดตกหกล้มร้อยละ 35.2 รองลงมาได้แก่ อุบัติเหตุมอเตอร์ไซต์ ร้อยละ 17.3 บาดเจ็บจากอุปกรณ์การเรียน ร้อยละ 16.5 และถูกทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 10 ปัจจุบันการแบ่งระดับความรุนแรงที่ศีรษะ อาศัยคะแนนระดับความรู้สึก GCS (Glasgow Comma Scale) เป็นหลัก โดยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงมีคะแนน GCS < 8 กลุ่มบาดเจ็บศีรษะปานกลางมีคะแนน GCS 9-12 และกลุ่มบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงน้อยมีคะแนน GCS 13-15 การบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีความรุนแรงระดับปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งและความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ รวมถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีความรุนแรงน้อย ที่การตัดสินใจในการส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือการรับไว้ในสังเกตอาการในโรงพยาบาลยังมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลที่มีขนาดและศักยภาพในการตรวจรักษาที่แตกต่างกันได้มาก อย่างไรก็ตาม การประเมินระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะเบื้องต้น โดยใช้คะแนนระดับความรู้สึกตัว GCS เพียงอย่างเดียวอาจก่อให้เกิดปัญหาในการตัดสินใจในการดูแลรักษาของทีมบุคลากรทางการแพทย์ การมีเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยประกอบในการพิจารณาตัดสินใจส่งตรวจเพิ่มเติม จะช่วยให้แพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะแพทย์ฉุกเฉิน มีความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยthaมหาวิทยาลัยมหิดลการบาดเจ็บที่ศรีษะรุนแรงน้อย (Mild Traumatic Brain Injury) แต่ปัญหาไม่น้อยArticleภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล