วสันต์ ศิลปสุวรรณมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.2016-02-242021-09-152016-02-242021-09-152559-02-112534https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63542เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 240.โครงการบัตรสุขภาพถือว่าเป็นนวกรรมทางสาธารณสุขที่สำคัญนวกรรมหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นการประกันสุขภาพด้วยความสมัครใจ โครงการบัติสุขภาพจะให้บริการแก่สมาชิกด้วยระบบส่งต่อและรับบทางด่วน ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ นอกจากนี้แล้วโครงการนี้ยังเป็นโครงการที่ระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดบริการสุขภาพตนเอง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานต่อไปอีกด้วย แม้ว่าโครงการนี้จะมีประโยชน์และช่วยให้ประชาชนเข้าร่วมในโครงการไม่มากเท่าที่ควร หรือในบางท้องที่น้อยมาก วัตถุประสงค์ขงการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสมัครเป็นสมาชิกโครงการบัตรสุขภาพและการใช้บริการสุขภาพของสมาชิก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและวิเคราะห์เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ประกอบแบบสอบถาม และแบบบันทึกการรับบริการสุขภาพ การวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2531 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สามมาจากหัวหน้าครอบครัวหรือคู่สมรสจำนวน 642 คน จาก 13 หมู่บ้าน รวมกันของอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า ประชาชนตัวอย่างตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโครงการสุขศึกษาค่อนข้างต่ำมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับบัตรสุขภาพในเกณฑ์ดี มีความต้องการเกี่ยวกับการรับบริการสุขภาพในระดับปานกลาง ได้รับปัจจัยกระตุ้นให้ซื้อบัตรสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางและมีความพึงพอใจการบริการสุขภาพที่ผ่านโครางการบัตรสุขภาพเป็นยอ่างดี จากการวิเคราะห์อำนาจจำแนกของปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับโครงการบัตรสุขภาพของประชาชนมีอิทธิพลต่อการสมัครเป็นสมาชิกอย่างยิ่ง ในขณะที่ระยะทางระหว่างบ้านกับโรงพยาบาลชุมชนจะมีผลกระทบต่อการคงสภาพสมาชิกมากที่สุด ความพึงพอใจการบริการสุขภาพจะเป็นตัวกำหนดการใช้บริการสุขภาพของสมาชิก นอกจากนี้ยัง พบว่า สมาชิกใช้บริการสุขภาพที่สถานีอนามัยมากที่สุด รองลงมาคือ โรงพยาบาลชุมชน และน้อยที่สุดคือ โรงพยาบาลทั่วไปthaมหาวิทยาลัยมหิดลชนบทไทยบัตรสุขภาพประชาชนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บัตรสุขภาพ ของประชาชนในชนบทไทยFactors Affecting Health Card Pregram Utilization among Peoplein Rural ThailandProceeding Abstract