ลลิตา สกุลเทวัญพิทักษ์สมชาติ โตรักษาวัลลีรัตน์ พบคีรีLalita SakultawanpitakSomchart TorugsaVallerut Pobkeereeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข2021-05-072021-05-072564-05-072563วารสารกฎหมายสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 6, ฉบับเพิ่มเติม (ก.ค.-ธ.ค. 2563), S95-S1102697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62094การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง การทดลอง นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา รูปแบบการดำเนินงานการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย (R2R) ของอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ และ เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน R2R ของอำเภอศรีราชา ระหว่างก่อนกับหลังการนำ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มาดำเนินการ นำไปทดลอง ระหว่าง 27 มีนาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561 ประชากร หลัก คือ การดำเนินงาน R2R ของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา ในแต่ละครั้ง(เรื่อง) รวม 34 ครั้ง(เรื่อง) ใน 13 หน่วยงาน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน R2R รวม 62 คน-ครั้ง ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้เครื่องมือ 12 ชิ้น Intervention ที่ใช้คือ รูปแบบการ ดำเนินงานของงาน R2R ที่พัฒนาขึ้น โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ ขณะนำไปดำเนินการทดลอง วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติ t และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า หลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ อัตราส่วนปริมาณงานเฉลี่ยของผลงาน R2R ต่อจำนวนบุคลากร 1 คน เพิ่มขึ้น, คุณภาพของผลงาน R2R เพิ่มขึ้น, ระยะเวลาและแรงงานเฉลี่ยที่ใช้ในการ ทำ R2R 1 เรื่อง ลดลง, อัตราความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้บริหาร ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ เพิ่มขึ้น, ต้นทุนต่อ หน่วยลดลง, ผลได้/ผลตอบแทนของการดำเนินงาน R2R เพิ่มขึ้น, ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน R2R เพิ่มขึ้น และมีความคุ้มค่าในการลงทุนพัฒนางาน R2R สรุปได้ว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่ดี เหมาะสมกับบริบทของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา ที่มีข้อจำกัดของทรัพยากร และมีปริมาณงานที่ ต้องทำมาก เสนอแนะให้ พัฒนาต่อไปจนเป็นตัวแบบของแนวปฏิบัติที่ดีของงาน R2R ในสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอThis experimental development research, with pre - and post - one group implementation design, had the following objectives: 1) to develop a routine-to- research (R2R) model, using existing resources; 2) To compare results of operations between pre- and postimplementation. This study was conducted at public health offices in Sriracha district, from March 27 to September 30, 2018. Sample size were 34 R2$ cases in 13 public health offices. The respondents for questionnaire were 62 persons-time. Research tools were 12 instruments, including intervention, new routine to research model, service provider information, and satisfaction questionnaire. Data analysis and statistical methods used were descriptive statistics and content analysis. Results indicated that ratio of average work load and one worker increased, quality increased, with average time and labor-force consumed decreased. Average satisfaction rate of administrators, service providers, and service receivers increased, when implemented R2R. Total cost and unit cost decreased. Results and effectiveness increased, with conclusion that the new developed working model was a good working model, and appropriate for the context of public health offices in Sriracha district, which had limited resources and high work load. Recommendation was to improve the model to be a national role model of R2R in public health district offices around the country.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัยการพัฒนารูปแบบวิจัยพัฒนาเชิงทดลองสำนักงานสาธารณสุขอำเภอroutine to researchmodel developmentexperimental researchR2Rการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีA Development of Routine to Research in Sriracha District, Chonburi ProvinceArticleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล